มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : ชุมชนมีแผนชุมชนเพื่อจัดระบบการกระจาย การแลกเปลี่ยน และการแบ่งปันอาหาร เพื่อเตรียมการและรับมือกับภาวะวิกฤต
3.7 ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรชุมชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมชุมชนให้เป็นหลักในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อจัดระบบการกระจาย การแลกเปลี่ยน และการแบ่งปันอาหาร เพื่อเตรียมการและรับมือกับภาวะวิกฤต ทั้งภายในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และเชื่อมโยงกับชุมชนอื่น ๆ โดยการสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อ้างอิงมติ : การพัฒนาระบบอาหารให้พร้อมรับภาวะวิกฤต

รายงานความก้าวหน้า : 

1) กรมการพัฒนาชุมชน- ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร “ทุกครัวเรือนคือคลังอาหาร ทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน” (1) ครัวเรือนที่มีการปลูกผักอย่างน้อย 10 ชนิด จำนวน 11,112,720 ครัวเรือน (2) ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์/ประมง 3,723,399 ครัวเรือน (3) การทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก 2,898,488 ครัวเรือน (4) แลกเปลี่ยนผลผลิตและแบ่งปันในชุมชน 1,616,022 (ไม่ทราบหน่วย) (5) แลกเปลี่ยนผลผลิตและแบ่งปันนอกชุมชน 1,001,450 (ไม่ทราบหน่วย) (6) ถนนกินได้ ปลอดภัยไร้สารพิษ 594,500 (ไม่ทราบหน่วย) (7) มีการปลูกผักร่วมกันในที่สาธารณประโยชน์ 582,644 (ไม่ทราบหน่วย) (8) ปลูกผักสวนครัวจากศาสนสถานสู่ชุมชน 518,000 (ไม่ทราบหน่วย) (9) พัฒนาพื้นที่ต้นแบบ พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ให้เกิดขึ้นในระดับครัวเรือนและชุมชน ตั้งแต่ปี 2563 ณ ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วกว่า 40,000 พื้นที่ทั่วประเทศ ต่อไปคือการจัดระดับพื้นที่ต้นแบบ เพื่อนำไปวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนาศักยภาพให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ (10) การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากโดยประชารัฐ มี 2 ส่วนคือ การขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย ปี 2566 จะดำเนินการใน 20 จังหวัดภาคอีสาน และการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย โดยจะดำเนินการโดยประชารัฐรักสามัคคีใน 76 จังหวัด

2) กรมส่งเสริมสหกรณ์ – ทำ MOU การบริหารจัดการนมทั้งระบบ และจัดworkshopเพิ่มประสิทธิภาพในสหกรณ์

3) เกษตรและสหกรณ์จังหวัด  (1) สุพรรณบุรี-ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (2) เชียงราย-ส่งเสริมมาตรฐาน GAP (3) ระยอง-จัดทำปฏิทินสินค้าเกษตรที่สำคัญรายเดือนระดับจังหวัดเพื่อวางแผนความมั่นคงอาหารและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและท้องถิ่น (4) สงขลา–อบรมปลูกผักในเมือง/ถ่ายทอดเทคโนโลยี (6) น่าน - จัดตั้งศูนย์ความเป็นธรรมด้านอาหาร ในระดับจังหวัด มีข้อสั่งการ ตั้งศูนย์ประสานงานปฏิบัติการเตรียมความพร้อมด้านอาหาร  (7) จันทบุรี–ส่งเสริม/พัฒนา/ผลิต/แปรรูป/แก้ปัญหาอาหารล้นตลาด/โครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ (8) หนองบัวลำภู-แผนบูรณาการพัฒนาระบบอาหารปลอดภัย (9) ปราจีนบุรี-จัดตั้งสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ (10) แพร่-ส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

4) พัฒนาชุมชนจังหวัด (1) สมุทรปราการ, นครราชสีมา-ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนระดับเศรษฐกิจฐานราก (2) ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล (3) สตูล, อุตรดิตถ์, กทม., ชัยภูมิ ขับเคลื่อนแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ สร้างความมั่นคงทางอาหาร

5) สวนผักคนเมือง นำผลผลิตผักไปกระจายให้กับกลุ่มเปราะบางในชุมชน

6) Yong Smart Farmer จังหวัดสงขลา  ส่งเสริมให้สมาชิกในเครือข่ายผลิตอาหารให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต และหนุนเสริมองค์ความรู้ด้านการผลิตอาหารให้กับชุมชน

7) กระทรวงมหาดไทย-ส่งเสริมความร่วมมือไปสู่เครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียน มี MOU กับ พระมหาเถราจารย์ฯ เพื่อทำงานร่วมกับ วัด-มหาวิทยาลัย วัด-ชุมชน แต่ละพื้นที่ดำเนินการแตกต่างกันไป แต่นำผลผลิตที่ได้แจกให้กับคนยากไร้ที่เข้าไม่ถึงเรื่องอาหารเหมือนกัน มีการใช้แพลตฟอร์ม TPMAP โดยทำงานร่วมกับสภาพัฒน์ฯ เพื่อสำรวจครัวเรือนเป้าหมายที่ยากจนทั่วประเทศ

8) สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานครมีนโยบาย BKK food bank โดยให้หน่วยงานภาคธุรกิจที่ผลิตอาหาร เช่น CP นำอาหารที่กำลังจะหมดอายุแจกกลุ่มเปราะบาง ก่อนอาหารถูกทิ้งเป็นขยะ

-มีงบประมาณเพื่อสนับสนุนชุมชนเพื่อเสริมความมั่นคงทางอาหาร 200,000 บาท/ ชุมชน

-สนับสนุนให้ชุมชนที่ตั้งตามระเบียบกทม.จัดทำแผนตนเอง สนับสนุนอาหารให้กลุ่มเปราะบาง

9) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน-มีการแบ่งปันในระหว่างชุมชน จัดทำครัวกลางในชุมชนวิกฤต ระดมอาหารจากพื้นที่เครือข่ายเกษตรอาหารปลอดภัย เพื่อแจกจ่ายผู้ต้องกักตัวภาวะเปราะบาง ดำเนินการ รวมทั้งใช้แผนที่ GIS กำหนดพื้นที่อาหาร

10) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม-ดำเนินการจัดทำข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นมาตรฐานเรื่องการทำ Big Data ในอนาคต มีการทำ Data Catalogue เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อช่วยเหลือกลุ่มประชากรเปราะบาง