มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : 1. ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย มีสิทธิ และเสรีภาพในการเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลข้าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างทันท่วงที และเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว
2. ประชาชนสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยในสถานการณ์วิกฤตสุขภาพ
3. ประเทศผ่านพ้นวิกฤตสุขภาพไปได้โดยเร็ว
5. ขอให้ภาครัฐคำนึงถึงสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร โดยเปิดช่องทางการสื่อสารให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ด้วยข้อมูลที่ตรงกัน และเป็นเอกภาพ (Single Message) พร้อมทั้งมีความสอดคล้องกัน (Consistency) ในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว ผ่านสื่อที่หลากหลาย ทั้งสื่อเดิม สื่อใหม่ และสื่อบุคคล โดยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ กลุ่มเปราะบางต่อการถูกเลือกปฏิบัติ กลุ่มประชากรเฉพาะ กลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น โดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ที่มีการใช้ภาษาถิ่น และภาษาเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างกัน

อ้างอิงมติข้อ - 

รายงานความก้าวหน้า

1. NBT/กรมประชาสัมพันธ์ เปิดให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลข่าวสารได้จากหลายช่องทาง ทั้งโดยตรงมายังกรมประชาสัมพันธ์ (Facebook FAN pages ข่าวจริงประเทศไทย) และหน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์ทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สำนักประชาสัมพันธ์เขต สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 76 จังหวัด เครือข่ายวิทยุชุมชน เครือข่ายภาคประชาชน
2.บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ TOT : ยินดีเป็นสื่อกลาง/ช่องทางการสื่อสาร โดยนำ Content จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติไปเผยแพร่สื่อสารไปยังผู้ใช้บริการของ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ
3. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย : มีกลไกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน  นำข่าวสารต่างๆ จากทุกหน่วยงานนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบอย่างทั่วถึง
4. กรมสุขภาพจิต มี พ.ร.บ.สุขภาพจิต / การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทุกกลุ่มวัยผ่านช่องทางที่หลากหลาย/ โครงการฟื้นฟูจิตใจหลุังภาวะวิกฤต ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชิ้อไวรัสโคโรนา 2019

5. กรมอนามัย มีกลไกการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพผ่านเว็บไซต์ "อนามัยมีเดีย" และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องผ่านเว็บไซต์ "สาสุขชัวร์“ / สายด่วน โทรศัพท์ที่รับ-ส่ง ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชน เช่น สายด่วน , COVID Free Setting-แผนการสื่อสารประจำปีกรมอนามัย

6. กระทรวง พม. มีศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล / โครงการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล

7. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มีกลไกส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงในกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุคนพิการทุกประเภทและคนด้อยโอกาส ส่งเสริมความตระหนักรู้และเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ใช้เป็น ใช้ปลอดภัย และใช้สร้างสรรค์ นอกจากนี้ ยังได้ดำเนิน โครงการสร้างผู้สูงวัยและผู้ด้อยโอกาสเป็นกำลังคนดิจิทัลสู้ภัยไซเบอร์ เป็นโครงการที่เน้นสร้างความตระหนักรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส มีการพัฒนาทักษะในการสร้างสรรค์และเผยแพร่สื่อดิจิทัล พร้อมๆ กับการตระหนักรู้ถึงภัยออนไลน์ต่างๆ เช่น ภัยจากการค้าขายออนไลน์ต่างๆ ข่าวลวง ข่าวปลอม ฯลฯ

8. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ : สื่อสารผ่านทางสื่อออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม