มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : เกิดปฏิสัมพันธ์การสื่อสารเกี่ยวกับวิกฤตสุขภาพในสังคมอย่างกว้างขวาง สร้างสรรค์ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
4. ขอให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจร่วมกันให้กับคนในสังคม โดยกำหนดให้มีการรับฟังข้อมูล และความคิดเห็นจากทุกฝ่าย พร้อมทั้งจัดหน่วยเฝ้าระวัง และติดตามประเด็นการสื่อสารที่ยังไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง สร้างความสับสนในสังคมหรืออาจส่งผลกระทบกับสังคมในอนาคต เพื่อรวบรวม แสวงหาคำตอบ และเผยแพร่คำตอบด้วยวิธีการที่เหมาะสม ทันต่อสถานการณ์ ด้วยหลักจิตวิทยาการสื่อสาร ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงสื่อท้องถิ่น และสื่อภาคประชาชน ด้วยภาษาที่เหมาะสมกับ ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยคำนึงถึงปฏิสัมพันธ์จากทุกฝ่าย เพื่อรับฟัง และแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือความคิดเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ ด้วยความรับผิดชอบ (Responsibility) และภาระรับผิดชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ (Accountability) ของทุกฝ่าย และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

อ้างอิงมติข้อ - 

รายงานความก้าวหน้า

1. NBT/กรมประชาสัมพันธ์  รายการ “NBT รวมใจ สู้ภัยโควิด-19” ออกอากาศทุกวันจันทร์– ศุกร์เวลา 09.00-12.00 น. โทร 0 2275 4225 เป็นสื่อกลาง ประสาน-ส่งต่อความช่วยเหลือ รับเรื่องร้องเรียน-ร้องทุกข์โควิด-19 ตอบปัญหาช่อง 2 : NBT2HD Facebook: เพจ Live NBT 2HD และ เพจ NBT2HD
2. กรมสุขภาพจิต มี พ.ร.บ.สุขภาพจิต / มีคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อ ภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต / โครงการสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) ประเด็นด้านสุขภาพจิต ผ่านช่องทางที่หลากหลาย
3. กรมอนามัย มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำหรับประชาชนกลไกระบบเฝ้าระวังและตอบโต้ความเสี่ยงเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ / มีการประเมินผลการสื่อสารการรับรู้และการเข้าถึง คือ สื่อสิ่งพิมพ์สื่อมวลชน Media / มีระบบเฝ้าระวังการสื่อสารความเสี่ยง(RRHL) สายด่วนสร้างความรอบรู้โควิด 0 2590 4111 /กล่องรับฟังความคิดเห็น Facebook COVID Watch
4. กสทช. เฝ้าระวัง โดยสำนักงาน กสทช. ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (อย./สสจ.) ในเรื่องโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เฝ้าระวัง โดยเครือข่ายผู้บริโภคสื่อฯ

5. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โครงการเรโทรโอเค เป็นการประชาสัมพันธ์ความรู้ในการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงรับฟังประเด็นปัญหา และเสนอแนะข้อแก้ไขในการใช้เทคโนโลยีให้แก่กลุ่มสูงอายุผ่านกลุ่มเฟซบุ๊ก “เรโทร โอเค Retro OK” เพื่อให้ผู้สูงอายุเปิดรับและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงออนไลน
6. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ : ทำงานร่วมกับศูนย์ต่อต้านข่าวกรองในการตรวจสอบข้อมูลด้านวัคซีนให้ถูกต้อง