มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายของมติ : 1. เกิดระบบการจัดการการสื่อสารในวิกฤตสุขภาพอย่างเป็นเอกภาพ ที่มีฐานข้อมูลเชื่อมโยงกันในทุกระดับ
2. ประชาชนเข้าถึงฐานข้อมูลเกี่ยวกับวิกฤตสุขภาพ และใช้ประโยชน์ได้โดยตรง อย่างรวดเร็ว

มติข้อที่ 2. ขอให้ภาครัฐกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการการสื่อสารในวิกฤตสุขภาพ โดยร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการสื่อสารในวิกฤตสุขภาพทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัดและอื่นๆ ตามความเหมาะสม ในรูปแบบของคณะกรรมการจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ที่สื่อสารจากจุดเดียว อย่างเป็นเอกภาพและสอดคล้องตรงกันในทุกระดับ พร้อมทั้งมีผู้อำนวยการที่มีความรับผิดชอบ และอำนาจตัดสินใจ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลิตสื่อ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ที่หลากหลาย ครบถ้วนรวมทั้งการจัดการงบประมาณให้เหมาะสม ตามแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤต พร้อมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลหรือศูนย์ข้อมูลระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น และระดับชุมชน ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย โดยมีผู้ประสานงานที่ได้รับมอบหมายในทุกระดับอย่างชัดเจน และสามารถประสานงานได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์

อ้างอิงมติข้อ - 

รายงานความก้าวหน้ามติ

   

1. มีการประชุมปรึกษาหารือถึงแนวทางการจัดตั้งศูนย์อำนวยการการสื่อสารฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
ครั้งที่ 1 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
ครั้งที่ 2 วันที่ 6 กรกฎาคม 2565
ครั้งที่ 3 วันที่ 2 สิงหาคม 2565
ครั้งที่ 4
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อเสนอต่อแนวทางการจัดตั้งศูนย์อำนวยการการสื่อสารในภาวะวิกฤต
(1) การจัดตั้งศูนย์อำนวยการการสื่อสารในภาวะวิกฤตนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมที่ครอบคลุมทุกวิกฤตเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการจัดตั้งศูนย์ฯ และเน้นปฏิบัติการเฉพาะในภาวะวิกฤตเท่านั้น ส่วนในภาวะปกติให้ดำเนินการตามภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
(2) การจัดตั้งศูนย์อำนวยการการสื่อสารในภาวะวิกฤต ให้มีศูนย์กลางอยู่ภายใต้กำกับสำนักนายกรัฐมนตรี
(3) การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ให้มีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วน โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
, รองนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน และรัฐมนตรีกระทรวง รวมถึงภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางนโยบาย และครอบคลุมถึงการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นวิกฤต
(4) หน่วยงานเลขานุการร่วม ประกอบด้วย 1. กรมประชาสัมพันธ์ (ด้านช่องทางการสื่อสาร) 2. กระทรวงสาธารณสุข (ด้านข้อมูลเนื้อหา) 3. กระทรวงมหาดไทย (ด้านกลไกโครงสร้าง)(5) ให้เสนอเรื่องการจัดตั้งศูนย์อำนวยการการสื่อสารในภาวะวิกฤตต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านรองนายกรัฐมตรีที่กำกับดูแล เพื่อให้ ครม. มีมติเห็นชอบการจัดตั้งศูนย์อำนวยการการสื่อสารในภาวะวิกฤต รวมถึงเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณกลางเพื่อดำเนินการในระยะแรกต่อไป
2. สช. พร้อมด้วยนายธีรวุธ กลั่นเลี้ยง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี, นางธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก กรรมการบริหาร สช. ได้เข้าพบนายสุรชัย ภู่ประเสริฐ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ เพื่อปรึกษาหารือถึงข้อเสนอการจัดตั้งศูนย์อำนวยการการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่มีศูนย์กลางอยู่ภายใต้กำกับสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายสุรชัย ภู่ประเสริฐ มีข้อเสนอให้จัดตั้งศูนย์ฯ นี้ ภายใต้กำกับของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากเป็นผู้มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการติดตามและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว โดยให้ปรึกษาหารือกับกรมประชาสัมพันธ์ และพิจารณาองค์ประกอบจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้กระชับและสามารถปฏิบัติงานได้จริง
3. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อำเภอมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนในพื้นที่
4. กรมสุขภาพจิต  มี พ.ร.บ.โรคติดต่อ / การจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภาวะวิกฤติทางสุขภาพจิต / การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) ) ประเด็นด้านสุขภาพจิตที่สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤต ความรู้ที่เน้นวิธีการปฏิบัติที่ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย
5. กรมอนามัย จัดตั้งทีมปฏิบัติระดับพื้นที่จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทำหน้าที่สื่อสารสร้างการรับรู้แก่ประชาชน และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่/ มีแผนการสื่อสาร / มีหน่วยงานในพื้นที่ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของระดับจังหวัดได้

6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีคณะกรรมการต่าง ๆ ในระดับจังหวัด โดย พมจ. เป็นเลขานุการ
7. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล  โครงการ Covid data Linkage Platform (CO-link) พัฒนาแพลทฟอร์มการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อบริหารจัดการเตียง ทะเบียนผู้ติดเชื้อ การครองเตียง ผลตรวจ Covid-19 และวัคซีนสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 โดยร่วมกับ ศบค. สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) สายด่วน (1668, 1669, 1330, 1422, 191, ศูนย์PAC นิมิบุตร) กทม. กรมการแพทย์กรมอนามัย กรมควบคุมโรค สช. และสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
8. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ บูรณาการการบริหารจัดการเรื่องการสื่อสารให้มีความเป็นเอกภาพ โดยสถาบันฯ สามารถร่วมจัดทำข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องด้านวัคซีน ให้เกิดการสื่อสารที่ถูกต้อง
9. สภาการพยาบาล มีบทบาททางกฎหมายที่จะต้องสื่อสารความรู้แก่ประชาชน หน่วยงานและสมาชิกพยาบาล  / มีสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพฯ ที่พร้อมจะสื่อสารกับประชาชน / มีแผนงานประชาสัมพันธ์
10. สำนักงานสถิติแห่งชาติ มี พ.ร.บ. สถิติ พ.ศ. 2550 / กลไกสำนักงานสถิติจังหวัด / โครงการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ