มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายที่ -
1. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเสนอให้
ทุกพรรคการเมืองมีนโยบายสร้างหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และประกาศต่อสาธารณะ

อ้างอิงมติ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติร่วมดำเนินการ

รายงานความก้าวหน้า :  

1. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดประชุมเตรียมการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 15.3 หลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มีนางทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ เป็นประธานการประชุมฯ โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าประชุมจำนวน 55 หน่ยงาน เพื่อรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯ และพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

2. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้จัดเวทีสาธารณะเพื่อสื่อสารและสร้างกระแสการรับรู้เรื่องหลักประกันรายได้ต่อพรรคการเมืองและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ 1 สช. ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์และศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดเวทีเสวนาวิชาการหัวข้อ “ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566

ครั้งที่ 2 สช. ร่วมกับสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) , องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) จัดเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ (Policy Dialogue) ครั้งที่ 1 เรื่อง “ไทยพร้อมยัง..ที่จะมีหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ” เมื่อที่ 28 มีนาคม 2566 โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ หน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงความเห็นและข้อเสนอต่อการขับเคลื่อนหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

ครั้งที่ 3 สช. ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) จัดเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ (Policy Dialogue) ครั้งที่ 2 เรื่อง “พรรคการเมืองกับหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ” เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ พรรคการเมือง ซึ่งมีผู้แทนพรรคการเมืองร่วมเป็นวิทยากรจำนวน 9 พรรค เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนประเด็นหลักประกันรายได้เพื่อรองรับสังคมสูงวัยให้เป็นรูปธรรม