สช. ร่วมกับ สสส. สธ. T-HAT และภาคีเครือข่ายส่งเสริมสุขภาวะคนข้ามเพศ สร้างการรับรู้ สื่อสารความเข้าใจเพื่อบริการสุขภาพที่เป็นมิตร สำหรับคนข้ามเพศ และเพศหลากหลาย เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่เขตเมือง | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

1

 

วันที่ 13 - 14 มิถุนายน 2567 ณ ห้องเมจิก 2 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข โครงการพัฒนากลไกนโยบายบริการเพื่อสุขภาวะคนข้ามเพศ (T-HAT) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางสื่อสารเพื้อบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับคนข้ามเพศและเพศหลากหลาย โดยมี ผศ.พญ.ปฐมพร ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจราชการ เขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดและต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมฯ จาก 22 โรงพยาบาลจากสังกัดต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพ​มหานคร

 

นำทีมจัดกระบวนการโดยคุณณชเล บุญญาภิสมภาร T-HAT และภาคีเครือข่ายส่งเสริมสุขภาวะคนข้ามเพศ ซึ่งได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้อย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับบริการสุขภาพที่เป็นมิตรฯ จำนวน 2 วัน ดังนี้

 

2

โดยกิจกรรมทำความรู้จัก ทำความเข้าใจ “การฟังด้วยหัวใจ” เพื่อเข้าใจเสียงที่ไม่ได้ยินจากคนข้ามเพศ และกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ “ความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับบริการสู่ความเท่าเทียม” รวมทั้งเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความเข้าใจสถานการณ์และบริการสุขภาพของคนข้ามเพศในปัจจุบัน

 

3

 

กิจกรรมกลุ่มย่อย ทำความเข้าใจมิติแห่งเพศ ผลกระทบที่เกิดกับคนข้ามเพศและเพศหลากหลาย และกิจกรรม “บอร์ดเกม“ การเดินทางของชายข้ามเพศ ก่อนการเข้าถึงบริการข้ามเพศ ตลอดจนช่วงสุดท้ายของการอบรม ได้เปิดเวทีเสวนา ”การจัดบริการสุขภาพสำหรับคนข้ามเพศอย่างเป็นมิตร ความสำคัญและจำเป็นที่ต้องรู้เพื่อคุณภาพบริการ“ ร่วมเสวนาโดย

- ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หัวหน้าคลินิกเพศหลากหลาย (Gen V. Clinic) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

- ผศ.นพ.ภควัต วิวัฒนาวรเศรษฐ์ จิตแพทย์ประจำ PSU PRIDE Clinic โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

- คุณฐิติญานันท์ หนักป้อ ผู้อำนวยการมูลนิธิซิสเตอร์

- คุณกฤติมา สมิทธิ์พล หัวหน้าคลินิกแทนเจอรีน สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี

 

34

 

ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมได้รับฟัง แลกเปลี่ยน ตอบคำถาม และสามารถทำความเข้าใจมิติความหลากหลายทางเพศ สู่การสร้างความเข้าใจในการจัดบริการทางสุขภาพที่เป็นมิตรกับคนข้ามเพศและเพศหลากหลาย

 

5

ทั้งนี้ นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวถึงบทบาท สช. ในการสานพลังสร้างสุขภาวะและพัฒนานโยบายสาธารณะผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพ และกล่าวขอบคุณภาคีร่วมจัด บุคลากรทางการแพทย์ และผู้เข้าร่วมการอบรม รวมทั้งกล่าวปิดการอบรมฯ

6

 

รูปภาพ