“3 บุรี” เดินหน้าขับเคลื่อนธรรมนูญพื้นที่-รองรับสังคมสูงวัย | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เมื่อวันที่ 7  มิถุนายน 2566 สช.และภาคีเครือข่ายธรรมนูญสุขภาพภาคกลาง ร่วมจัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพื้นที่และธรรมนูญรองรับสังคมสูงอายุ” ณ ห้องประชุมโสมชา โรงแรมไชยแสง อ.เมือง จ.สิงห์บุรี  มีผู้เข้าร่วมรวม 80 คน จาก 18 พื้นที่ “จังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี” ประกอบด้วย นายก อปท., ประธานสภาองค์กรชุมชน, ประธานชุมชนฯ, นักวิเคราะห์นโยบาย, หัวหน้าฝ่ายบริหารสาธาณสุข,รพ.สต., อสม., กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน,สื่อมวลชน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและทบทวนแนวทางการนำธรรมนูญไปสู่การปฏิบัติ และเกิดการพัฒนากลไกความร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์ในการนำธรรมนูญไปสู่แผนการปฏิบัติในพื้นที่
 

ธรรมนูญสุขภาพภาคกลาง


ด้าน สช. โดย นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนนโยบายระดับพื้นที่ กล่าวเปิดงานในหัวข้อ “ธรรมนูญสุขภาพกับการสร้างสุขภาวะที่ดีในชุมชน” ในพื้นที่ 3 บุรี “สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี”  ซึ่งมีความหลากหลายในบทบาทและความคาดหวังในการนำธรรมนูญไปใช้ให้เกิดการปฏิบัติและเกิดประโยชน์กับทุกคนในพื้นที่ ซึ่งทุกท่านที่เข้าร่วมเป็นทั้งนักยุทธศาสตร์และผู้ปฏิบัติ เพื่อสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี  ซึ่งตาม 4 กระบวนการ 9 ขั้นตอนในการจัดทำธรรมนูญพื้นที่ ผ่านรูปแบบและช่องทางการขับเคลื่อนถ่ายระดับจากตำบลสู่หมู่บ้านที่ใช้ธรรมนูญเป็นกรอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างต้นแบบในชุมชนที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกระบวนการติดตามและประเมินผลในระยะต่อไป
 

จารึก ไชยรักษ์


จากนั้น เปิดเวทีเสวนาเพื่อจุดประกาย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากต้นทุนและศักยภาพการนำธรรมนูญสู่การปฏิบัติ ที่มีการบูรณาการเชื่อมโยงกับภาคียุทธศาสตร์ ร่วมสนับสนุนการทำงาน จนเป็นต้นแบบความสำเร็จของการพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญ โดยมีวิทยากรจาก 3  จังหวัด ได้แก่ นายกิตติพงศ์  มหิพันธ์ นายกเทศมนตรีตำบลแสลงพัน อ.วังม่วง จ.สระบุรี นายประทีป อ่อนสลุง ประธานชุมชนท่องเที่ยววัฒนธรรมไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  และพันเอกสมบัติ ระรวยทรง ประธานชุมชนเทศบาลเมือง จ.ชุมชนเมือง จ.สิงห์บุรี
 

ธรรมนูญสุขภาพ


ทั้งนี้ยังมีกระบวนการกลุ่มเพื่อระดมความเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนและแผนงาน 18 ตำบล โดยมีโจทย์ การกำหนดเป้าหมาย กลไกคณะทำงาน มาตรการสำคัญที่จะนำมาขับเคลื่อน

รวมทั้งมีการวางแผนงานหลังจากนี้จะมีการติดตามแผนงานโครงการ รวมถึงสนับสนุนองค์ความรู้ ขยายผลการขับเคลื่อนธรรมนูญในระดับพื้นที่ร่วมกับพี่เลี้ยงธรรมนูญจังหวัดให้เกิดการบูรณาการเครื่องมือร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ และการเชื่อมโยงกลไกความร่วมมือกับหน่วยงาน ผ่านช่องทางต่างๆทั้งในระยะสั้นและยาวต่อไป
 

ธรรมนูญสุขภาพ

 

ธรรมนูญชุมชน

 

ธรรมนูญสุขภาพสระบุรี

 

เขตสุขภาพ


 

รูปภาพ