เสวนาออนไลน์ วัคซีนโควิดมาแล้ววัคซีนทางสังคม ยังจำเป็นอยู่ไหม | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
Audio file
คลิปสั้น เสวนาออนไลน์ วัคซีนโควิดมาแล้ววัคซีนทางสังคม ยังจำเป็นอยู่ไหม

 

สาระสำคัญรายงาน


ประเทศไทยเคยเผชิญหน้ากับวิกฤตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น สึนามิน้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว ภัยแล้งยาวนาน โรคระบาดหลายครั้งหลายหน และเราต่างผ่านพ้นกันมาได้

การระบาดของโควิด 19 ในระลอกแรกก็เช่นกัน สอบผ่าน ชุมชนอยู่รอด สังคมไทยพ้นภัยด้วย “วัคซีนทางสังคม”
 

ประเทศไทยเคยเผชิญหน้ากับวิกฤตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน


วัคซีนทางสังคม คือ การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พร้อมรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตตนเอง มีพื้นที่กลางในการทำงานหรือหารือร่วมกันระหว่างชุมชน กับภาครัฐ และภาคส่วนอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้ นอกจากทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการตัดสินใจร่วมกันแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและไว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน เมื่อใดที่ชุมชนเข้มแข็ง เมื่อนั้นชุมชนจะมี ภูมิคุ้มกัน สามารถสู้ภัยโควิด19 หรือวิกฤตใดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
 

3 หน่วยงานสานพลัง


การระบาดของโควิด19 เป็นบททดสอบความเข้มแข็งของชุมชน โดยเฉพาะชุมชนเมืองที่มีลักษณะเชิงปัจเจก องค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้สนับสนุนให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด19 ในระลอกแรก พ.ศ 2563 โดยศึกษาพื้นที่ 4 ชุมชนเมือง ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อค้นหานวัตกรรมทางสังคมในการแก้ปัญหาโควิด19 และลดความเหลื่อมล้ำในแบบฉบับชุมชน แล้วจัดทำเป็นข้อเสนอแนะในการสร้างวัคซีนทางสังคม เพื่อรับมือกับวิกฤตในอนาคต
 

เรียนรู้จากพื้นที่ 4 ชุมชน


ดอนเมือง: แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคมและสร้างรายได้
เมื่อรัฐมีนโยบาย อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ชุมชนดอนเมืองขานรับนโยบายรัฐ ด้วยการพัฒนาตลาดออนไลน์ของชุมชน 
โดยชุมชน เพื่อชุมชน ทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน รวมทั้งช่วยเหลือผู้ตกงานหรือว่างงานให้มีรายได้เสริม โมเดลนี้ได้รับการยอมรับอย่างง่ายดายและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาระยะห่างทางสังคมตามนโยบายรัฐ

วังทองหลาง: ฐานข้อมูลชุมชนเพื่อการตัดสินใจ “ให้ใครก่อน จัดลำดับได้จากฐานข้อมูล”
ในยามวิกฤต ทุกคนต่างต้องการความช่วยเหลือ การกำหนดกลุ่มเปราะบางโดยชุมชน การจัดทำฐานข้อมูล การมีหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือ รวมทั้งกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใส ช่วยเพิ่มความเป็นธรรมในการเข้าถึงความช่วยเหลือและลดความขัดแย้งในชุมชน

ธนบุรี: เกษตรในเมืองเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาชีพ
พื้นที่ว่างเปล่า หรือริมทางเดิน กลายเป็นแหล่งอาหารในชุมชน เมื่อชุมชนหันมาปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ไม่เพียงทำให้ชุมชนอิ่มท้องในยามวิกฤต ยังต่อยอดสร้างอาชีพให้กับชุมชน 

บางบอน: ความยุติธรรมที่ไร้ขอบเขต โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและสัญชาติ
แรงงานต่างด้าว อาจเป็นคนกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับการแบ่งปันน้ำใจจากคนในสังคม แต่ชุมชนบางบอนเลือกที่จะไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะหลักคิดที่ว่า “เราต้องสามัคคีและดูแลทุกคน หากเขาติดเชื้อ เราก็ได้รับผลกระทบไปด้วย” ครัวกลางชุมชน และถุงยังชีพจึงแจกจ่ายทุกคนด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง 

ข้อเสนอในการสร้างวัคซีนทางสังคม


1. การมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและใช้ภาวะผู้นำกลุ่มในการตัดสินใจ ช่วยนำพาชุมชนพ้นวิกฤต การมีเวทีในชุมชนเป็นประจำ เพื่อเปิดรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งคำติชม ข้อร้องเรียนต่าง ๆ ช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในชุมชน

2. การสื่อสารในชุมชน เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันท่วงทีด้วยช่องทางที่เหมาะสม เป็นเรื่องสำคัญ โครงสร้างพื้นฐานและช่องทางการสื่อสารควรได้รับการสนับสนุนภายในชุมชุมเองหรือจากพันธมิตรภายนอก
 
3. การสนับสนุนของหน่วยงานท้องถิ่นและพันธมิตรภายนอกด้านวิชาการ งบประมาณ และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ ควรสอดคล้องกับวิถีชุมชน และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม

4. การใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เป็นสิ่งจำเป็น ฐานข้อมูลที่ดี สะดวกในการใช้งาน เป็นรากฐานในการติดตามและประเมินการทำงาน ข้อมูลที่มีควรแบ่งปันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

5. การมีกลไกการทำงานร่วมกันกับหลายภาคส่วน เป็นบ่อเกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างชุมชน องค์กรในชุมชน และพันธมิตรภายนอก การทำงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ที่ช่วยให้ชุมชนเตรียมพร้อมรับมือต่อวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้มแข็งและยั่งยืนของกลไกการทำงานนี้จึงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ
 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานขององค์การอนามัยโลก


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานขององค์การอนามัยโลก

เพื่อสะท้อนปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพและความเป็นธรรมในช่วงการระบาดของโควิด 19 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ท่านสามารถอ่านเรื่องราวของกรุงเทพแบบเต็มอิ่มได้ที่นี่  https://en.nationalhealth.or.th/all-publication/
 

เสวนาออนไลน์ วัคซีนโควิดมาแล้ววัคซีนทางสังคม ยังจำเป็นอยู่ไหม


👉  ลงทะเบียนล่วงหน้า   https://bit.ly/3BJXQeR


รับชม FB LIVE : เสวนาออนไลน์ วัคซีนโควิดมาแล้ว วัคซีนทางสังคมยังจำเป็นอยู่ไหม

 

รูปภาพ
วัคซีนโควิดมาแล้ววัคซีนทางสังคม ยังจำเป็นอยู่ไหม