มาตรา 8 | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

“ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสะไม่รับบริการมด จะให้บริการนั้นไม่ได้

ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ความในวรรณหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

  1. ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
  2. ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการ แล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้”

กลุ่มงานพัฒนาและขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ (กสส.) มีการดำเนินงานเพื่อการสร้างเสริมและคุ้มครองสิทธิในการได้รับข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เพียงพอต่อการตัดสินใจที่จะรับหรือไม่รับบริการด้านสาธารณสุขของประชาชน โดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ ภาคประชาสังคม เช่น กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน สำนักงานประกันสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สภาการพยาบาล แพทยสภา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มพุทธิกา กลุ่ม Peaceful Death ชีวามิตรวิสาหกิจเพื่อสังคม เยือนเย็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ฯลฯ เพื่อคุ้มครองสิทธิในการได้รับข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เพียงพอต่อการตัดสินใจที่จะรับหรือไม่รับบริการด้านสาธารณสุขของประชาชน ทั้งในระดับนโยบาย การจัดทำแนวปฏิบัติ และการสื่อสารสังคม อาทิ

  • ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาข้อเสนอนโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน โดยใช้กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม จนนำไปสู่การมี “มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 เรื่อง การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” และได้รับการบรรจุให้เป็นแนวทางเวชปฏิบัติของกรมการแพทย์ เรื่อง แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน พ.ศ.2559 (เชื่อมลิงก์ไปที่ “มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 เรื่อง การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน)
  • ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา “มาตรฐานการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับประเทศไทย (Thai Standards for advance care planning) พ.ศ.2565 จนนำไปสู่การมีประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับประเทศไทย (Thai Standards for advance care planning) พ.ศ.2565 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 (ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานการวางแผนการดูแลล่วงหน้าฯ )