“บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”
กลุ่มงานพัฒนาและขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ (กสส.) มีการดำเนินงานเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตของประชาชนผ่านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่รับการรักษาที่เป็นไปเพียงเพื่อการยืดความตายในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ ภาคประชาสังคม เช่น กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สภาการพยาบาล แพทยสภา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มพุทธิกา กลุ่ม Peaceful Death ชีวามิตรวิสาหกิจเพื่อสังคม เยือนเย็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ฯลฯ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตของประชาชนผ่านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่รับการรักษาที่เป็นไปเพียงเพื่อการยืดความตายในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมีการทำงานทั้งในระดับนโยบาย ระบบ และกลไก การพัฒนาองค์ความรู้และข้อมูลทางวิชาการ และการสื่อสารสังคมเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชน โดยมีตัวอย่างการดำเนินงาน อาทิ
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 65 ก หน้า 18 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2553) (ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง กฎกระทรวงฯ )
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานของสถานบริการสาธารณสุข ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของสถานบริการสาธารณสุขตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 56 ง หน้า 13 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2554) (ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่องแนวทางการปฏิบัติงานฯ )
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและขับเคลื่อน “แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. 2557-2559”
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานิยามปฏิบัติการ (Operation definition) ของคำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) สำหรับประเทศไทย พ.ศ.2563 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนพิเศษ 261 ง หน้า 3 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563) (ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง นิยามปฏิบัติการฯ )
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา “มาตรฐานการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับประเทศไทย (Thai Standards for advance care planning) พ.ศ.2565” จนนำไปสู่การมีประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับประเทศไทย (Thai Standards for advance care planning) พ.ศ.2565 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข กฎหมาย และแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย (คู่มือผู้ให้บริการฯ ฉบับปรับปรุง )
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (คู่มือสำหรับประชาชนฯ ฉบับปรับปรุง )
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดงานสร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 1วันที่ 1-2 สิงหาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์
(รายงานการประชุมสร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 1 )
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดงานสร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 2
วันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดงานสร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 3
วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
(รายงานการประชุมสร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 3 )
- 132 views