“การมีส่วนร่วมของสังคม คือ เสาหลักในภาวะวิกฤต” สช จัดการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีร่วมกับประเทศสโลเวเนีย ในห้วงการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 78


VIEW: 60   SHARE: 0    
เผยแพร่โดย: 
by
 กลุ่มงานสื่อสารสังคม


หลังจาก สช ผลักดันให้มีมติสมัชชาอนามัยโลก เรื่องการมีส่วนร่วมของสังคม เพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ในปีที่ผ่านมา สช และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับประเทศสโลเนีย ในฐานะประธานมติสมัชชาอนามัยโลกเรื่องนี้ จัดประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2568 ในห้วงการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 78 เพื่อหารือสถานการ์ณการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนานโย บายสาธารณะ ท่ามกลางวิกฤตโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสงคราม

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในที่ประชุมว่า “ระบบสุขภาพของไทยมีความเท่าเทียมและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างดี เพราะไทยเปิดโอกาสให้ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคมมีร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ  เช่น การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นประจำตลอดระยะเวลา 18 ปี เรายังมีกฎหมายที่ให้ภาคประชาสังคมนั่งเป็นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ”

A group of people sitting at a tableAI-generated content may be incorrect.

 รัฐมนตรีกระทรวงสุขภาพ จากบราซิล ฝรั่งเศส โปรตุเกส ตูนิเซีย และรัฐมนตรีช่วยกระทรวงสุขภาพ จาประเทศไทย เม็กซิโก  โปแลนด์ บาบาดอส รวมทั้งผู้แทนระดับสูงจากประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปินส์ เคนยา และผู้แทนจากภาคประชาสังคม และนักวิชาการ รวม 50 คน ร่วมประกาศการขับเคลื่อนมติสมัชชาอนามัยโลก 77.2 เรื่องการมีส่วนร่วมของสังคมสู่การปฏิบัติ  ให้เกิดการตัดสินใจที่โปร่งใส และความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐกับประชาชน เปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนเปราะบาง ชายขอบ และเยาวชนเข้าร่วม เพื่อให้เกิดความเสมอภาค หลากหลาย และครอบคลุม

A group of people sitting at long tablesAI-generated content may be incorrect.
นายเดชอิศม์ ขาวทอง ได้กล่าวปิดการประชุมว่า “การมีส่วนร่วมของสังคม คือ เสาหลักในภาวะวิกฤต” ดังนั้น หลังจากมีมติสมัชชาอนามัยโลกเรื่องนี้ ประเทศไทยได้นำเสนอคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมทางสังคมขึ้น เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของสังคมให้ดีขึ้น

นอกจากประเทศไทย และสโลเวเนียแล้ว ประเทศบราซิล ฝรั่งเศส นอร์เวย์ ตูนิเซีย รวมทั้ง เครือข่ายภาคประชาสังคมระดับนานาชาติ ได้แก่ Civil Society Engagement Mechanism (CSEM) และ UHC2030 และมหาวิทยาลัย London School of Economics and Political Science (LSE) ได้ร่วมจัดการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีขึ้น ภาคีเครือข่ายนานาชาติกลุ่มนี้รวมตัวกัน เพื่อสร้างความรู้และการตระหนักเรื่องการมีส่วนร่วมของสังคมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ




NHCO Q&A