โควิด-19 กลุ่มเปราะบางกระทบหนัก สช. จับมือ ศิษย์เก่า มธ. องค์กรเอกชน เร่งเยียวยา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
Audio file
โควิด-19 กลุ่มเปราะบางกระทบหนัก สช. จับมือ ศิษย์เก่า มธ. องค์กรเอกชน เร่งเยียวยา


เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ประสานโครงการ TBS CONNECT อิ่ม&บุญ โดยสมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TBS) มอบกล่อง “บุญ&รอด” ที่บรรจุยา เวชภัณฑ์ และสิ่งของจำเป็นให้แก่มูลนิธิรักษ์ไทย ในฐานะเครือข่ายของกลุ่มอาสาไทยแคร์ (Thai.care) เพื่อนำไปมอบให้แรงงานข้ามชาติและกลุ่มเปราะบางที่ติดเชื้อโควิด-19 และต้องแยกกักตัวในพื้นที่จังหวัดนครปฐม  ณ มูลนิธิรักษ์ไทย กรุงเทพ 
 

อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต


อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประธานคณะทำงานโครงการ TBS CONNECT อิ่ม&บุญ  กล่าวว่าโครงการดังกล่าว เป็นการระดมพลังบริจาคทั้งเงินและสิ่งของ จากทั้งศิษย์เก่าคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี,คณะอื่นๆของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,พี่น้องต่างสถาบันตลอดจนประชาชนทั่วไป ผ่านทาง สมาคมฯ (TBS) จัดทำเป็นกล่องบุญ&รอด มอบให้กับผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเข้าระบบการรักษาของโรงพยาบาลได้ ซึ่งทางสมาคมฯ เล็งเห็นว่าไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยเหล่านั้นอยู่อย่างสิ้นหวังเดียวดายและโดดเดี่ยว จึงจัดทำ กล่องบุญ&รอด ที่ภายในบรรจุเครื่องอุปโภค บริโภค และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ซึ่งทางสมาคมฯอยากให้ผู้ป่วยมีความหวัง และต่อสู้โรคร้ายไปด้วยกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ที่ยังขาดการดูแลอย่างจริงจังจากหน่วยงานต่างๆ

ปรีดา แต้อารักษ์


นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เปิดเผยว่า การสนับสนุนครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TBS)  เครือข่ายอาสาสมัครไทยแคร์ (Thai.care) มูลนิธิรักษ์ไทย  Migrant Working Group (MWG) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดย สช.เป็นกลไกเชื่อมประสานหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ และหน่วยงานที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อกระจายไปยังกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งการสนับสนุนกล่องบุญ&รอด ในครั้งนี้ ทาง สช. ได้ประสานมูลนิธิรักษ์ไทย ในฐานะเครือข่ายไทยแคร์ รับมอบและกระจายไปยังกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ที่ได้รับการดูแลอยู่ ณ ศูนย์แยกกักในชุมชน (Community Isolation : CI) ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เพื่อให้แรงงานข้ามชาติที่ยังขาดอุปกรณ์ และปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตในช่วงโควิด-19 ได้ใช้ในการดูแลตนเองอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี นับเป็นการประสานความร่วมมือของหลายภาคส่วนเพื่อต่อสู้วิกฤติโควิด-19 โดยมุ่งเน้นกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติ อันเป็นประชากรกลุ่มเปราะบางในวิกฤติการแพร่ระบาดครั้งนี้
 

วิรุฬ ลิ้มสวาท


นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท หัวหน้ากลุ่มสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กล่าวว่า เครือข่ายไทยแคร์ (Thaci.care) เป็นแพลตฟอร์มประสานงานความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ให้ชุมชนสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือด้านโควิด-19 ได้อย่างสะดวก และปลอดภัย ทั้งนี้เราได้วางแผน ออกแบบการขับเคลื่อนแบบ Individule Care ที่ผ่านแพลตฟอร์ม Thaci.care ที่เป็น โรงพยาบาลเสมือน (Virtual Hospital) สู่การขยายไปยังแพลตฟอร์ม “Thai.care ดูแลชุมชน” ที่เป็นการสร้าง Community Care ให้กับชุมชนแรงงานข้ามชาติ โดยวางแผนเริ่มต้นที่จังหวัดนครปฐม และเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
 

ชูวงค์ แสงคง


ในช่วงท้าย นายชูวงค์ แสงคง เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโส มูลนิธิรักษ์ไทย กล่าวเสริมว่า เป้าหมายการทำงานแรงงานข้ามชาติครั้งนี้ เเพื่อวางระบบสุขภาวะชุมชนให้ชุมชนแรงงานข้ามชาติสามารถจัดการตนเองในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ซึ่งมีการกำหนดแผนระยะสั้น คือ การขยายขอบเขตการทำงานในรูปแบบอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ (อสต.) และการเชื่อมประสานระหว่างกลไกสมัชชาสุขภาพในระดับจังหวัดและเครือข่ายแรงงานข้ามชาติในพื้นต่อไป
 

สช. จับมือ ศิษย์เก่า มธ. องค์กรเอกชน เร่งเยียวยา

 

โควิด-19 กลุ่มเปราะบางกระทบหนัก

 

กล่องบุญรอด

 

 

รูปภาพ
โควิด-19 กลุ่มเปราะบางกระทบหนัก สช. จับมือ ศิษย์เก่า มธ. องค์กรเอกชน เร่งเยียวยา