คือสำนักคิด คือสะพานเชื่อม | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

   ในภาพรวมผลการปฏิบัติงานของ สช. ภายใต้การปริหารงานของ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ในปีที่ 1 ดังรายละเอียดในรายงานสาธารณะที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.nationalhealth.or.th
 
   มีผลงานที่สำคัญแบ่งได้เป็น 6 ประเภทประกอบด้วยตัวชี้วัด 30ด้านและมีผลผลิตรูปธรรม จำนวน 74ตัวชี้วัดซึ่งช่วยทำให้เห็นศักยภาพและโอกาสในการขับเคลื่อนภารกิจของ สช.ในช่วงต่อไปได้ชัดขึ้น
 
   ประการที่ 1 สช. สามารถเปลี่ยนผ่านวิธีคิด แนวทางการทำงานและโครงสร้างการบริหารจัดการขององค์กรมาสู่แนวใหม่ได้โดยพื้นฐานแล้ว จึงอยู่ในวิสัยที่พร้อมจะสร้างผลงานในลักษณะเชิงรุกมากขึ้นกว่าเดิม
 
   ประการที่ 2 สช. สามารถขับเคลื่อนภารกิจด้านต่างๆได้อย่างเป็นขบวน เป็นระบบ และสร้างผลงานรูปธรรมในแต่ละด้านได้อย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ใหม่ของแผนงานหลักฉบับที่3 กล่าวคือ
 
   ยุทธศาสตร์ที่1 สร้างผลงานรูปธรรม - ในภาพรวมมี “ประเด็นงานรูปธรรม”ที่ สช. ได้ดำเนินการแล้วและกำลังดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในระดับต่างๆ โดยผ่านเครื่องมือ 4PW ทั้งในขั้นเป็นข้อเสนอ ขั้นขาขึ้น ขั้นขาเคลื่อนและขั้นขาประเมิน รวมทั้งสิ้น 2,973 เรื่อง ซึ่งสามารถจำแนกเป็น สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 309 เรื่อง, สมัชชาสุขภาพจังหวัด 474 เรื่อง, สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น 29 เรื่อง, ธรรมนูญสุขภาพตำบล 1,460 เรื่อง, ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ 5 เรื่อง, ธรรมนูญระดับชาติอื่นๆ 2 เรื่อง, การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ 56 เรื่อง, สิทธิด้านสุขภาพ 3 เรื่อง และ กระบวนการ4PWระดับพื้นที่ 633 เรื่อง
 
   ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม - เฉพาะในปีงบประมาณ 2560 สช. ได้ส่งบทความทางวิชาการลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 1 เรื่องได้ผลิตและเผยแพร่องค์ความรู้จำนวน 25 เรื่อง และสร้างนวัตกรรมใหม่ จำนวน 2 เรื่อง คือ 1) กระบวนการและแนวทางรูปธรรมในการรับฟังความคิดเห็นประชาชน กรณี(ร่าง)แก้ไขปรับปรุง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2) ประกาศ คสช. ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559
 
   ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเครือข่าย– ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ สช. ได้ให้ความสำคัญอย่างชัดเจน ต่อภารกิจการสร้างเครือข่ายและการขยายภาคีพันธมิตร ทั้งพันธมิตรระดับนโยบาย พันธมิตรระดับยุทธศาสตร์ พันธมิตรระดับปฏิบัติการ พันธมิตรเชิงพื้นที่ พันธมิตรเชิงวิชาการ และพันธมิตรระดับนานาชาติ
 
   ยุทธศาสตร์ที่ 4 สื่อสารสังคม– สช. ได้ดำเนินการปรับปรุงงานสื่อสารสังคมอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์และยุทธศาสตร์ของแผนงานหลักฉบับที่ 3 รวมทั้งยังได้ตัดสินใจลงทุนในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารและพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางขององค์กรอย่างจริงจัง
 
   ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างองค์กรต้นแบบ– สช. ได้ประกาศความมุ่งมั่นที่จะสร้างองค์กรให้เป็นต้นแบบ ทั้งในด้านวิชาการ4PWและด้านองค์กรโปร่งใส ปลอดทุจริตและมีธรรมาภิบาล ซึ่งได้เริ่มปรากฏผลการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมให้เห็นอยู่หลายประการ และเป็นที่คาดได้ว่าน่าจะทยอยส่งผลสะเทือนในทางบวกให้เป็นที่ประจักษ์ในระยะถัดไป
 
   ประการที่ 3 สช. ได้ค้นพบบทบาทใหม่ที่สังคมต้องการและอาจเป็นช่องทางในการแสดงสมรรถนะขององค์กรให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม อย่างน้อยใน 4 บทบาทได้แก่
 
   1) บทบาทขององค์กร “นักสานพลัง”(synergist) หรือ “นักประสานความร่วมมือ”(collaborator) ในกรณีกองทุนสุขภาพท้องถิ่นในพื้นที่ กทม.และกรณีสนับสนุนงานขาเคลื่อนของกระทรวงต่างๆ
2) บทบาทขององค์กร “คนกลางไกล่เกลี่ย”(mediator) หรือ “ผู้สร้างสันติสุข”(peacemaker) ในกรณีรับฟังความเห็น พรบ. บัตรทอง
3) บทบาทขององค์กรที่เป็น “ต้นกำเนิด” (originator) สำหรับ4PW และเครื่องมือในการขับเคลื่อนกระบวนการในกรณีเครื่องมือที่เป็นสัญลักษณ์ของ สช. ได้แก่ NHA, NHC, HIA, R2H,Living Will, Pubic Consultation, ฯลฯ
4) บทบาทขององค์กรที่เป็น “สำนักคิด”(school of thought) ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญและภูมิปัญญาการจัดการในเรื่อง ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา( k-s-p theory )
 
   ทิศทางและจังหวะก้าวของงาน สช. ในปีต่อไป
เนื่องจากงานในช่วงปีแรก ได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางและครอบคลุมในเชิงปริมาณได้ค่อนข้างดีแล้ว ดังนั้น เพื่อสานต่อภารกิจของ สช. จากฐานทุนที่สะสมไว้ สช. ควรปล่อยให้กระบวนการขับเคลื่อนในเชิงปริมาณของภาคีเครือข่ายเป็นไปตามวิถีของmomentum ในขณะเดียวกัน สช.ต้องดำดิ่งลงลึกสู่การสร้างผลงานเชิงคุณภาพขึ้นมาหนุนเสริมอย่างทันต่อจังหวะเวลา

 
   “สร้างผลงานโบว์แดง..แสดงสมรรถนะองค์กร..หนุนนำภาคีเครือข่าย..ขยายพลังแห่งข้อมูลข่าวสาร “ นี่คือจังหวะงาน สช. ในปีที่สองของผมครับ.
 

รูปภาพ