เวทีสร้างข้อตกลงระดับจังหวัด “รพ.สต. บริการใกล้บ้านทันสมัยหัวใจเพื่อประชาชน” | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

1

 

10 มิ.ย. 67 นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมเวทีสร้างข้อตกลงระดับจังหวัด “รพ.สต. บริการใกล้บ้านทันสมัยหัวใจเพื่อประชาชน” (โครงการการปรับใช้นวัตกรรมผสมผสานระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) สู่สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง) ณ ห้องประชุมชั้น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

โครงการการปรับใช้นวัตกรรมผสมผสานระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) สู่สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสามารถจัดการปัญหาในเชิงพื้นที่หรือบริการสาธารณะที่มี คุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่สามารถจัดบริการสุขภาพและบริการทางการแพทย์ที่เข้าถึง ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ประชาชนกลุ่มเปราะบางทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ภายใต้แนวคิดไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสังคม โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือร่วมกับการสร้างการมีส่วนร่วม ของผู้เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับ พื้นที่ (บพท.)2 และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง จึงร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยการปรับใช้นวัตกรรมผสมผสาน ระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) สู่สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง (อบจ.ลำปาง)

 

2

 

โดยมีพื้นที่เป้าหมายในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย (1) พื้นที่ทดลองนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Sandbox) คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ที่มีการรับการถ่ายโอนภารกิจฯ รพ.สต. จำนวน 67 แห่ง และ (2) พื้นที่วิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาและทดลองระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านใหม่พัฒนา, รพ.สต.บ้านแจ้คอน, รพ.สต.บ้าน ตึงใต้, รพ.สต.บ้านวังใหม่, รพ.สต.บ้านแจ้ซ้อนเหนือ, รพ.สต.บ้านขาม, รพ.สต.บ้านกอรวก, รพ.สต.บ้านใหม่รัตน์โกสินทร์, รพ.สต.บ้านกิ่วหลวง, และ รพ.สต.บ้านวังใหม่ โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกจากพื้นที่ที่มีกลุ่มประชากรเปราะบาง ยากจน ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร หรือมีปัญหาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์

 

3

 

ดังนั้น โครงการวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพให้แก่ระบบบริการสุขภาพและ นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพของพื้นที่ โดยส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในสังกัดมีความเข้มแข็งและมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในการจัดบริการสาธารณะที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนในพื้นที่ และคาดหวังที่จะขยายผลการใช้ระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine)

รูปภาพ