"พังงาแห่งความสุข" พื้นที่แห่งการร่วมสร้างสังคม ให้เป็นสังคมแห่งความสุขร่วมกัน | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

1

 

กว่าจะก่อเกิดเป็น "พังงาแห่งความสุข"

 

กระบวนการที่สำคัญคือ
(1)การรวมคน  (2)การสร้างเป้าหมายร่วมของคน  (3)การสร้างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโดยอาศัย เครื่องมือ ความรู้ ประสบการณ์ และงบประมาณ จากหน่วยงานภาคีสนับสนุน ก่อเกิด ปั้นแต่ง จนกลายเป็น "สมัชชาพังงาแห่งความสุข" มากกว่า 12 ปี 


ขั้นที่หนึ่ง (2554 - 2559) คือ ขั้นตอนของการจัดระบบองค์กรชุมชน การจัดการข้อมูล การขับเคลื่อนในพื้นที่ ก่อเกิดรูปธรรม เชื่อมร้อยเครือข่าย ใช้ระยะเวลากว่าห้าปี


ขั้นที่สอง (2560 - 2564) คือ การยกระดับความรู้ รูปธรรม สู่การจัดการ และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ พร้อมการสร้างความร่วมมือ กับหน่วยงานภาคี ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสนับสนุนต่างๆ ให้เข้ามาหนุนเสริม พัฒนา จนเกิดเป็น "ผังพัฒนาพังงาแห่งความสุข" ในช่วงนี้อาจใช้เวลา 5 ปี และนำเสนอแผน และผังการพัฒนา ต่อหน่วยงานระดับจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อจัดทำแผนอุดหนุนงบประมาณ และความร่วมมือในการขับเคลื่อน 


ขั้นที่สาม (2565 - 2567) คือ การนำแผนไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งขั้นนี้ คือการรวบรวมแผนจากพื้นที่ แผนจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น แผนที่เกิดจากนโยบายในงานสมัชชาพังงาความสุข เพื่อพัฒนาเป็น "แผนและผังการพัฒนา" ที่ผ่านการยอมรับจากทุกภาคส่วน และนำไปบรรจุเป็นแผนพัฒนาจังหวัด และแผนงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้อาจใช้เวลา หนึ่งถึงสามปี เพราะการสร้างความเข้าใจ การสร้างความร่วมมือ การสร้างความไว้วางใจ ในการทำงานร่วมกัน ต้องก่อเกิดจากการปฏิบัติการร่วมเท่านั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้จริงจากวงเจรจาแต่เพียงอย่างเดียว 


ขั้นที่สี่ (2568 - 2573) คือ การขับเคลื่อนนโยบาย ผังการพัฒนาหลายเรื่องราวไม่สามารถนำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดได้ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ รวมไปถึงอำนาจในการบริหาร จัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่มีอยู่จริงนั้น จึงไม่สามารถที่จะกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่ให้เกิดขึ้นได้จริงตามแผนงาน และผังการพัฒนาที่คนพังงาได้พยายามขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  

 

2


---------------------
ที่ประชุมสมัชชาพังงาแห่งความสุขปีนี้ เห็นพ้องกันว่า 
- จะขับเคลื่อนไปสู่ "จังหวัดจัดการตนเอง" ซึ่งอาจหมายถึง ...การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีจังหวัดพังงา หรือจะเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งก็ได้ แต่ต้องมีแค่ตำแหน่งเดียวในจังหวัดพังงา ... กำหนดระยะเวลาร่วมกันว่าต้องไม่เกิน 10 ปีจากนี้ 
- มีการกำหนดแผนและขั้นตอนการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน เช่นการผลักดันให้บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ ...ต้องบรรจุเรื่องการกระจายอำนาจให้จังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดขนาดใหญ่ ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือจะเรียกเป็นอย่างอื่นก็ตามก็ตาม จังหวัดพังงาต้องเป็นจังหวัดนำร่อง 10 จังหวัดแรกของประเทศด้วย


-------------------------------------
ทำไมจังหวัดพังงาถึงนำร่องได้ เพราะเราขับเคลื่อนเป็นกระบวนการ ขั้นตอน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ถึงขนาดนี้ เราอาจพร้อมที่จะเดินหน้า หากนโยบายและกฎหมายเปิดโอกาส ให้จังหวัดพังงาเลือกผู้ว่าการจังหวัดเองได้ ผู้ว่าฯ หรือนายกเทศมนตรีจังหวัด หรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหรือจะเรียกเป็นอย่างไรก็ตาม นั่นไม่สำคัญกว่า เขาต้องเข้ามาบริหารการเมือง บริหารแผนที่ประชาชนจัดทำขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดจากประชาชนโดยแท้จริง

ชวนมารู้จัก "พังงาแห่งความสุข" https://www.youtube.com/watch?v=xchacXSmMM4

 

3

 

Cr. คุณไมตรี จงไกรจักร์ คสช.เขต 11
#สมัชชาพังงาแห่งความสุข 
12 มิถุนายน 2567