คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

Social participation : การมีส่วนร่วมของสังคม จากไทยสู่โลก

กว่าสามสิบปีที่แล้ว ประเทศไทยเราเริ่มพูดกันถึงว่าหมดยุคประชาธิปไตยแบบตัวแทน ต้องเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จาก representative democracy มาเป็น participation democracy ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยนาทีเดียวเวลากาบัตรเลือกผู้แทน แล้วยกให้เป็นหน้าที่ของผู้แทน ประชาชนต้องเป็น active citizen ที่ต้องร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมตรวจสอบ ตลอดเวลาหลังจากกาบัตรเลือกตั้ง

สุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต : ชีวิตที่ดีต้องมีแผน

ทุกคนทราบดีว่าเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตาย เปรียบกับผลไม้ สุกก็หล่น แก่ก็หล่น อ่อนก็หล่น แม้คนเราจะถึงเวลาที่เป็นผลไม้สุกงอมแล้ว แต่กลับเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยได้ตระเตรียม

เทคโนโลยีการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น สามารถยืดระยะเวลาตายออกไปได้ แต่การรักษาบางอย่างไม่ได้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับผู้ป่วย หากเพิ่มความทุกข์ทรมานมากขึ้นยาวนานขึ้นในระยะสุดท้ายของชีวิต

ปัจจัยกำหนดสุขภาพ

จากการศึกษาวิจัยพบว่าคนในประเทศไหนจะมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวแค่ไหนขึ้นอยู่กับ ระบบบริการสุขภาพ ๙% พันธุกรรม ๑๖% พฤติกรรม ๕๑% และ สิ่งแวดล้อม ๒๔%

สังคมสูงวัย ‘วิกฤต’ หรือ ‘โอกาส’ ของประเทศไทย

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ (Aged Society)
มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มาถึงปัจจุบัน


ปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ไทยมีสัดส่วนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ๑๓ ล้านคน หรือร้อยละ ๒๐
ของประชากรเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ขณะที่อัตราการเกิด

สุขภาพองค์รวม ภาคีเครือข่ายองค์รวม Holistic health Holistic partnership

ผ่านมา ๑๗ ปีที่พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ กฎหมายฉบับนี้ให้มุมมองใหม่ต่อสุขภาพแบบ holistic health  “สุขภาพหมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต  ทางปัญญา และทางสังคม  เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล” มุมมองต่อสุขภาพที่กว้างขึ้น ทำให้ขอบข่ายการทำงานกว้างขวางขึ้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายทั้ง ภาครัฐ  ภาคการเมือง ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาควิชาการ มุ่งพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม  โดยมีกลไกสำคัญคือ

คำตอบอยู่ที่พื้นที่

ข้อมูลกรมการปกครอง ณ สิ้นปี ๒๕๖๖ จำนวนราษฎรทั้งประเทศ ๖๖,๐๕๒,๖๑๕ ลดลง ๓๗,๖๘๐ คน เมื่อเทียบกับสิ้นปี ๒๕๖๕ ประเทศไทยมี ๗๖ จังหวัด ๘๗๘ อำเภอ ๗,๒๕๕ ตำบล ๗๕,๑๔๒ หมู่บ้าน ๗๖ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๓๐ เทศบาลนคร ๑๙๕ เทศบาลเมือง ๒,๒๔๗ เทศบาลตำบล ๕,๓๐๐ องค์การบริหารส่วนตำบล และ ๒ การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา)