| สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ทำไมต้องมีหลักเกณฑ์ HIA

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีหน้าที่ในการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพฯ เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง (๕) ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ

หลักเกณฑ์ HIA คืออะไร

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ถูกกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการของกลไกที่เกี่ยวข้อง ในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ทั้งในส่วนที่ถูกกำหนดให้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำรายงานเพื่อขออนุมัติ/อนุญาตการดำเนินงานโครงการ ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลว่านโยบาย แผนงาน หรือกิจกรรมที่จะดำเนินการ

HIA ส่งผลกระทบต่อสังคม/ประชาชนอย่างไร

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นกระบวนการแสวงหาข้อมูลและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ที่สนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น นอกเหนือจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงแล้ว ภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ยังสามารถนำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม และในระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ร

HIA มีความสำคัญอย่างไร

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะดำเนินการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ให้การรับรองสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพของประชาชนไว้ใน 3 มาตรา ได้แก่  

HIA คืออะไร

การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) หมายถึง การคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบาย แผนงานและโครงการ ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งทางลบ ทางบวก และความเป็นธรรมจากการได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะดังกล่าว โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือที่หลากหลายและมีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนและเสนอต่อกลไกที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

แรงงานข้ามชาติติดโควิด-19 แต่ไม่กล้าไป รพ. เหตุไม่มีประกันสุขภาพ – ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษา

วงถกแก้ปัญหา “คลัสเตอร์แคมป์คนงาน” พบปัญหาหนักอกแรงงานข้ามชาติ คือค่าใช้จ่าย-สถานะทางกฎหมาย “ผู้แทนแรงงานข้ามชาติ” ระบุ แรงงานฯ ส่วนใหญ่ไม่มีประกันสุขภาพ จึงไม่กล้าไปโรงพยาบาลเมื่อติดเชื้อโควิด-19

Subscribe to