เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568
🏪 ณ เทศบาลเมืองนาสาร ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
🟣 สมัชชาสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ ศูนย์ข่าวภาคใต้ไทยพีบีเอส จัดเวที "เสวนาสาธารณะ เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย" ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นนโยบายสาธารณะของจังหวัดสุราษฎร์ธานี "สุราษฎร์ธานีสู่ครัวโลก : เพียงพอ ปลอดภัย สมวัย สร้างเศรษฐกิจฐานราก"
🟡 โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน เกษตรกร เครือข่าย young smart famer NGOs และนักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ฯลฯ เข้าร่วมสะท้อนปัญหาและจัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมร่วมกัน
▶️ ทั้งนี้สถานการณ์ของอำเภอบ้านนาสาร มีพื้นที่การปลูกทุเรียนเป็นอันดับ 2 รองจาก อำเภอเกาะสมุย การเกิดขึ้นของแปลงทุเรียนใหม่ในเขตชุมชน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของครัวเรือนที่มีบ้านชิดติดแปลงทุเรียนจากการฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า และสารเคมีฆ่าแมลงแบบไร้การควบคุม จนเกิดข้อร้องเรียนและข้อพิพาททั้งในระดับหมู่บ้าน รวมถึงการร้องเรียนไปยังหน่วยงานระดับจังหวัด มีการโค่นล้มยางพารา เงาะโรงเรียน มาปลูกทุเรียนมากขึ้น ส่งผลกระทบให้ในช่วงมรสุม น้ำจากบนเขาไหลหลากลงสู่คลองฉวางอย่างรวดเร็วจนเกิดภัยพิบัติ เหตุเพราะไม่มีต้นไม้ หรือพืชซับน้ำ ช่วงฤดูแล้งเกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำในชุมชน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จากเวทีเสวนาสาธารณะดังกล่าว เกิดข้อเสนอระดับต่าง ๆ ได้แก่
1️⃣ ข้อเสนอระดับชุมชน หรือโซนพื้นที่ คือ การจัดทำข้อตกลงชุมชน ธรรมนูญสุขภาพระดับหมู่บ้าน หรือระดับชุมชน เพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมจากคนในชุมชน เช่น ที่บ้านสะพานกระถิน ต.ช้างขวา อ.กาญจนดิษฐ์ ที่มีการประชาคมหมู่บ้าน ห้ามมีการปลูกทุเรียนแปลงใหม่ และแปลงเดิมต้องมีแนวกันชนป้องกันการฟุ้งกระจายของสารเคมี
2️⃣ ข้อเสนอระดับท้องถิ่น คือ การสนับสนุนงบประมาณกองทุนตำบล (สปสช.) ให้แก่ท้องถิ่น รวมทั้งการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบให้ทุกคนสามารถเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง-ตรวจสารเคมีในเลือดในชุมชนที่มีความสุ่มเสี่ยง การสนับสนุนรางจืดเพื่อล้างพิษ และการส่งต่อโรงพยาบาล
3️⃣ ข้อเสนอต่อสถาบันวิชาการ คือ การจัดทำงานวิจัยแนวทางการปลูกทุเรียนปลอดสารเคมี ที่มีมูลค่าสูง และการกำหนดแนวทางการออกแบบแปลนการเกษตรก่อนเพาะปลูก เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร สุขภาพคนในชุมชน และสิ่งแวดล้อม
4️⃣ ข้อเสนอระดับจังหวัด คือ ให้มีการจัดเวทีกลางเพื่อออกแบบแนวทางการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม มีกลไกคณะทำงานขับเคลื่อนเชิงระบบ โดยสมัชชาสุขภาพจังหวัดจะเป็นหนึ่ง platform สำหรับเปิดพื้นที่กลางในการปรึกษาหารือร่วมกัน
5️⃣ ข้อเสนอระดับนโยบาย คือ กำหนดให้ผู้ปลูกทุเรียนต้องขึ้นทะเบียน กำหนดให้มีการประชาคมก่อนการปลูกทุเรียนแบบกรณีฟาร์มปศุสัตว์ การกำหนดแนวกันชนให้เป็นข้อปฏิบัติ และเสนอให้ร่วมกันขับเคลื่อน พ.ร.บ.ทุเรียนไทย ให้เกิดกองทุนทุเรียนไทย เพื่อแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกร และเพื่อเป้าหมายทุเรียนไทยยั่งยืน
🔵 การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะปฏิบัติการเพียงตำบลใดตำบลหนึ่ง องค์กรใดองค์กรหนึ่ง ไม่เพียงพอต่อการฟื้นคืนสภาพคลองฉวาง ให้เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นน้ำสำหรับอุปโภคดังเช่นอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งสุขภาพของคนในชุมชนที่ต้องแบกรับผลกระทบแม้ไม่ใช่เจ้าของแปลงทุเรียน จากข้อเสนอเชิงนโยบายในครั้งนี้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และลดผลกระทบทั้งสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม "ทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง"