คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สู่ทศวรรษที่สอง

   ในเวทีวิชาการ 10 ปี พรบ. สุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 มีภาคีเครือข่ายสุขภาพจากทั่วประเทศและสื่อมวลชนมาร่วมงานกันอย่างอบอุ่นคึกคัก จนแน่นห้องประชุมสถาบันจุฬาภรณ์ ทำให้เวทีเกิดพลังแห่งความหวังและจินตนาการที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า
 
   ผมต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านที่กรุณามาร่วมให้ความคิดมุมมองที่ทรงคุณค่าและแสดงความยินดี ให้กำลังใจกับพวกเราชาว สช. สุชน คนใฝ่ดี
 

ประภาคาร ในคืนฟ้าคะนอง

   ผลจากการทำงานหนักของพนักงานและผู้บริหารทุกคนในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้การเดินทางตามแผนงานหลักฉบับที่ 3 ของ สช. สามารถทำระยะทางมาได้ค่อนข้างไกล
 
   จากเป้าหมายของแผนฯที่กำหนดว่า ภายใน 5 ปี ต้องมีนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมเกิดขึ้น 500 เรื่อง และในจำนวนนี้ ร้อยละ 25 จะต้องแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
 

คือสำนักคิด คือสะพานเชื่อม

   ในภาพรวมผลการปฏิบัติงานของ สช. ภายใต้การปริหารงานของ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ในปีที่ 1 ดังรายละเอียดในรายงานสาธารณะที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.nationalhealth.or.th
 
   มีผลงานที่สำคัญแบ่งได้เป็น 6 ประเภทประกอบด้วยตัวชี้วัด 30ด้านและมีผลผลิตรูปธรรม จำนวน 74ตัวชี้วัดซึ่งช่วยทำให้เห็นศักยภาพและโอกาสในการขับเคลื่อนภารกิจของ สช.ในช่วงต่อไปได้ชัดขึ้น
 

แง่คิดจากสมัชชาองค์การอนามัยโลก

   ไปร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกเป็นครั้งแรกในเที่ยวนี้ (WHA 70) ผมตั้งคำถามไปจากบ้านว่าจะไปหาคำตอบเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก็ได้ทั้งข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ตรงที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนางานของ สช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติของเรา (NHA)
 

ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ : คำประกาศจาก Adelaide

   กระแสความเคลื่อนไหวระบบสุขภาพในระดับโลก กำลังชูประเด็นทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ (Health in All Policies : HiAP) ให้เป็นแนวทางการบูรณาการงานพัฒนาสุขภาพ และยกประเด็นSustainable Development Goals(SDG) ขึ้นเป็นเป้าหมายร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน อันสอดคล้องกับงานของ สช. และภาคีเครือข่ายในบ้านเรา
 

ประเด็นคานงัดจังหวัด : Local Reform Agenda

   สช. เป็นองค์กรที่ถือกำเนิดและพัฒนาการมาตามลำดับ มีภารกิจหลักคือการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้ขยายบทบาทจากระบบสุขภาพสู่การปฏิรูปสังคม สุขภาวะ อันเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงและครอบคลุมไปถึงทุกปัจจัยที่กำหนดสุขภาพ(social determinants of health)