| สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เพิ่มการดูแลกลุ่มเปราะบางผ่าน ‘Telemedicine’ บพท. สนับสนุน สช. วิจัยพัฒนา ‘แพทย์ทางไกล’ อบจ.ลำปาง ยกระดับบริการปฐมภูมิ ตอบโจทย์ประเทศ

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2567 บรรจุไปด้วยประเด็นสำคัญที่รัฐบาลตั้งใจจะเดินหน้าในการบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทย ที่แน่นอนว่ายังเต็มไปด้วยความท้าทายหลายประการ

HIA เพื่อทางเลือกการพัฒนาที่เป็นมิตร หนุนความยั่งยืนของ ‘ระบบสุขภาพท้องถิ่น’

เช่นเดียวกับประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก การก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางจำเป็นต้องพึ่งพาเม็ดเงินจากการลงทุน นั่นทำให้ตลอดเวลากว่า ๒ ทศวรรษมานี้ ประเทศไทยจึงเต็มไปด้วยโครงการพัฒนาน้อยใหญ่ บนความคาดหวังที่จะช่วยกระตุ้นผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ให้สูงขึ้น

ทว่า การเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาเหล่านั้น จำนวนไม่น้อยต้องแลกมาด้วยต้นทุนที่ยากจะประเมินค่า จากการทำให้สภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิต

‘สช.-ภาคี’ ผลักดัน ‘HIA’ สู่ท้องถิ่น หนุน ‘อปท.’ ใช้เป็นเครื่องมือ รองรับกระจายอำนาจ-ถ่ายโอน รพ.สต.

เพื่อเป็นพื้นที่กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเพื่อประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทุกๆ ปี สถาบันการศึกษา ๖ ภูมิภาค ในฐานะศูนย์วิชาการ HIA จะหมุนเวียนกันเป็น “เจ้าภาพ” ในการจัดกิจกรรมวิชาการที่สำคัญในระดับประเทศ

HIA กับการพัฒนาระบบสุขภาพท้องถิ่น

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการนำไปใช้และเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางมากขึ้นถึงการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) เป็นการคาดการณ์หรือประเมินถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งด้านลบและด้านบวกที่อาจเกิดขึ้น จากนโยบายสาธารณะต่างๆ

เสริมพลังชุมชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพแบบบูรณาการรับมือภาวะวิกฤตสุขภาพ

เสริมพลังชุมชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพแบบบูรณาการรับมือภาวะวิกฤตสุขภาพทั้งในปัจจุบันเเละอนาคตด้วยนวัตกรรมการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนผ่านปฏิบัติการระดับพื้นที่ ใน 17 ชุมชนเมืองกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ ชุมชนเข้มแข็ง หน่วยสนับสนุนชุมชน/โหนดพี่เลี้ยง มีบทบาทสนับสนุนชุมชนซึ่งนําไปสู่การออกแบบและพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้อย่างเหมาะสม

Subscribe to