สงขลา พร้อมขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับท้องถิ่น | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เปิดวงกลางหารือการขับเคลื่อนระบบสุขภาพในระดับท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ตามกรอบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 โดยมีผู้แทนจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนีสงขลา สำนักงานสาธารณสุขสงขลา สถาบันนโยบายสาธารณะ มอ. และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพสงขลา เข้าร่วม
 

ปรินดา ปาลาเร่


30 เมษายน 2567​ นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการ คสช. และ นางสาวปรินดา ปาลาเร่ รองนายก​ อบจ. ​สงขลา เป็น​ประธาน​ร่วมในการ​ประชุมเพื่อหารือแนวทางการสานพลังการทำงาน การกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ แผนและการดำเนินงานขับเคลื่อนระบบสุขภาพในระดับท้องถิ่นจังหวัดสงขลาที่จะนำไปสู่สังคมและระบบสุขภาพที่เป็นธรรม  โดยมีเนื้อหาสรุปในเวที ดังนี้

1. ทบทวนต้นทุนการจัดการระบบสุขภาพในสงขลา ตั้งแต่การพัฒนาธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ แห่งแรกของประเทศ การสร้างวงเกลอท้องถิ่นน่าอยู่ สู่รูปธรรมตำบลท่าข้ามต้นแบบตำบลสร้างสุข การจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดบนฐานทุนประเด็นร่วม การจัดเวทีพลเมืองสงขลานำเสนอนโยบาย การแพทย์ฉุกเฉิน แผนร่วมทุน กระทั่งเป็นพื้นที่ sandbox การวิจัยถ่ายโอน รพ.สต.

2. มีความร่วมมือภายใต้ 15 ภาคีบริหารจัดการ โดยมีองค์กรหลักๆ ได้แก่ จังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา มูลนิธิในเครือของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาพันธ์สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว มูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมจัดทำ “วิสัยทัศน์สงขลา 2570” โดยมียุทธศาสตร์สำคัญได้แก่ การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และสังคมเป็นสุข

3. นำยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน กำหนดเป้าหมายการร่วมพัฒนาสงขลาใน 5 ปีข้างหน้า
 
4. การประสานการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะให้เกิดเป็นรูปธรรมสำคัญ ดังนี้

1) ใช้หลักคิด “ภาคพลเมืองมีส่วนร่วมเข้ามาเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา” เน้นการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน สร้างตัวแบบเชิงนโยบาย ผลักดันเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนของหน่วยงาน

2) เน้นการ “สร้างข้อตกลงร่วมมือ มากกว่าเสนอเชิงนโยบายผ่านเอกสาร” เป็นการเน้นการทำงานบนการสร้างข้อตกลงร่วมกันว่าจะเคลื่อนภายใต้ภารกิจที่แต่ละหน่วยงานเกี่ยวข้องและดำเนินการได้จริง

3) สร้าง “ระบบนิเวศการทำงานแนวใหม่ ใช้ วิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดนำ” สร้างพื้นที่กลาง ที่มีองค์ประกอบได้แก่ เจ้าภาพร่วม ข้อมูลร่วม แผนงานร่วม และเป้าหมายร่วม มาหนุนเสริมการขับเคลื่อนให้เกิดการสานพลัง การเรียนรู้ เติมเต็ม ต่อยอด และขยายผล

4) บูรณาการทั้งเครื่องมือ งบประมาณ พื้นที่และยุทธศาสตร์การทำงาน ผ่านระบบสารสนเทศกลาง

5) จัดเวทีสาธารณะประจำปี ภายใต้ชื่อ “งานวันพลเมืองสงขลา” เพื่อติดตามข้อตกลงความร่วมมือ การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4. แนวทางการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของ อบจ. และภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ จังหวัดสงขลา เพื่อสานพลังการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบาย
สาธารณะแบบมีส่วนร่วม ตามกรอบธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ได้แก่

~  กำหนดให้ประเด็นรองรับสังคมสูงวัย เป็นเป้าหมายร่วมหลักเพื่อจัดทำธรรมนูญ ตามหลักการความเป็นธรรมด้านสุขภาพ พร้อมจัดทำภาพอนาคตร่วมกัน
~ จัดกระบวนการทบทวนข้อมูล เป้าหมาย แผนงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันร่วมกัน
~ มีเวทีวิเคราะห์ภาคีหลักในการร่วมเคลื่อน (วิชาการ รัฐ ประชาสังคม) 
~ กำหนดเป้าความสำเร็จร่วมระหว่างทางในแต่ละปี
~ ให้มีการนำเสนอในเวทีวันพลเมืองสงขลา กลางเดือนสิงหาคม 2567
 

ระบบสุขภาพปฐมภูมิ

 

ระบบสุขภาพปฐมภูมิ

 

ระบบสุขภาพปฐมภูมิ

 

รูปภาพ
ระบบสุขภาพระดับท้องถิ่น