คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

พลังพลเมืองตื่นรู้...สู้วิกฤติสุขภาพ

   วิกฤตโรคระบาดและผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ผสมกับวิกฤตรัฐธรรมนูญและการเมืองกระทบต่อการจัดการและศรัทธาของคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศ ทำให้เกิดคนจนและประชากรเปราะบางกลุ่มใหม่ ถือเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตและซ้อนวิกฤตที่ยากแก่การล้มแล้วจะลุกไว ถ้าขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และสมัชชาเฉพาะประเด็น หรือเฉพาะพื้นที่ เป็นตัวอย่างของการเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมพัฒนานโยบาย กำหนดอนาคตของตนเองและของพื้นที่ ผมขอชวนเพื่อนๆ ติดตามความคืบหน้าและลงรายละเอียดเพิ่มเติมของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ เพราะงานใกล้งวดเข้ามาทุกทีแล้วครับ
 

พลังการมีส่วนร่วม

   สวัสดีครับ... วิกฤตเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศ และความตื่นตัวข้อกำหนดอนาคตและแก้วิกฤตประเทศของเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนคนรุ่นใหม่ สอดคล้องกับธีมงานหรือประเด็นหลักของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ ที่กำหนดไว้ว่า “พลังพลเมืองตื่นรู้ สู้วิกฤตสุขภาพ” ผมจึงอยากชวนเพื่อนภาคีเครือข่ายคุยเรื่องความเป็นพลเมืองตื่นรู้ และความสำคัญที่ประเทศต้องมีและทุกภาคส่วนต้องสนับสนุนให้เกิดพลเมืองตื่นรู้ให้เต็มพื้นที่
 

ความเท่าเทียมทางเพศ คนละเรื่องเดียวกันกับหลักประชาธิปไตย

    สวัสดีครับ ช่วงเดือนที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวหนึ่งที่สังคมพูดถึงกันอย่างมาก คือ การขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศกับการเรียกร้องประชาธิปไตย์เป็นเรื่องเดียวกันได้ เมื่อภาพประวัติศาสตร์ผืนธง Pride ธงสีรุ้งผืนใหญ่ ถูกชูขึ้นเคียงคู่กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย์เป็นครั้งแรก เมื่อเย็นวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง ๓ ข้อได้แก่ ยุบสภา หยุดคุกคามประชาชน และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มเยาวชนปลดแอก และสนับสนุนข้อเรียกร้องยืนยันความเท่าเทียมทางเพศ แก้กฎหมายให้เกิดการสมรสเท่าเทียม สอดรับกับม

ยิ่งให้ ยิ่งได้

   สังคมที่น่าอยู่ และยั่งยืน ต้องเป็นสังคมที่เกื้อกูล แบ่งปันกันเหมือนที่เกิดขึ้นในชุมชนทั้วประเทศในช่วงเวลาที่คนไทยได้รวมพลังเป็นพลเมืองตื่นรู้ สู้ภัยโควิด-19 และเกิดปรากฎการณ์ในลักษณะ “ยิ่งให้ ยิ่งได้” มีตัวอย่างมากมายปรากฎสู่สังคม
 

สมัชชาพลเมืองตื่นรู้ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตประชาชนจากวิกฤตโควิด-19

   เมื่อคืนวันที่ ๒ มิถุนายน ที่ผ่านมา สังคมไทยได้สูญเสียนักการแพทย์และสาธารณสุขที่ยิ่งใหญ่ของโลก ศ.นพ.อมร นนทสุต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปูชนียบุคคลผู้วางรากฐานการสาธารณสุขมูลฐานของไทย ผู้ให้กำเนิดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) ที่เป็นกำลังสำคัญช่วยไทยให้พ้นวิกฤตสุขภาพครั้งแล้วครั้งเล่า และพ้นภัยโควิด-19 ท่านอาจารย์จากไปด้วยวัย ๙๒ ปี
 

สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตโควิด19

   สวัสดีครับ...นิตยสารสานพลังฉบับนี้ ผมอยากชวนเพื่อนภาคีแลกเปลี่ยนเรื่อง “สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตโควิด19” หลังจากรัฐบาลได้ใช้มาตรการค้อนเหล็ก เน้น Social distancing ปิดการเดินทางเข้าออกประเทศและบางจังหวัด ปิดสถานประกอบการและปิดกิจกรรมรวมคนทุกประเภท ร่วมกับมาตรการของประชาชนภายใต้ข้อตกลงร่วมหรือธรรมนูญประชาชน ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19 หรือที่เรียกชื่ออื่น ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง และการยินยอม พร้อมใจ มีส่วนร่วมของประชาชน อาสาสมัคร องค์กรชุมชน เครือข่ายประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ทุกตำบล ชุมชน หมู่บ้าน ทำให้ประเทศไทยขึ้นอันดับเป็นประเทศท