มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : แผนยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นและเยาวชนทุกระดับ
1.2 ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนในระดับจังหวัด จัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นและเยาวชนทุกระดับ ดำเนินการติดตามประเมินผล ภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 และยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน

อ้างอิงมติ ข้อ 1.  ขอให้คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เครือข่ายด้านสุขภาวะทางเพศของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันพิจารณาจัดตั้งกลไกร่วมในการดำเนินการ

รายงานความก้าวหน้า : 

  • ในปี 2566 คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้มีมติจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2566-2570 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570 ) ซึ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะที่ 2 ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2566-2570 ได้ยึดวิสัยทัศน์ของแผนระยะเวลา 10 ปีไว้คือ “วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษา มีทักษะชีวิตที่ดีสามารถเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตร เป็นส่วนตัว รักษาความลับ และได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาค”มุ่งสู่เป้าหมายสำคัญ ได้แก่
  • อัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี จากเดิมไม่เกิน 25 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน เป็นไม่เกิน 15 ต่อ 1,000 คน ภายในปี 2570
  • คงค่าเป้าหมาย อัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี ไว้ที่ไม่เกิน 0.5 ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี 1,000  คน ภายในปี 2570
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีกลไกในการขับเคลื่อนคือ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติและได้จัดการประชุมชี้แจงให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติและได้จัดการประชุมชี้แจงให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดได้รับทราบยุทธศาสตร์ฯ และสนับสนุนให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับยุทธศาสตร์นี้ บูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กและเมื่อปี พ.ศ. 2553 ได้จัดทำ“ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม”เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ย่อย 6 ด้าน คือ (1) ด้านการป้องกัน (2) การช่วยเหลือและบำบัดฟื้นฟู (3) การเสริมสร้างบทบาทและองค์ความรู้แก่กลุ่มผู้นำทางความคิดของเด็กและเยาวชน (4) การขจัดสิ่งยั่วยุและการป้องกันอิทธิพลจากสื่อ (5) การผลักดันด้านนโยบาย และ (6) การสำรวจข้อมูล การพัฒนาระบบงานและการติดตามผล กลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้คือคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน