- 38 views
![1](/sites/default/files/inline-images/LINE_ALBUM_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%20%E0%B8%95.%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B9_241130_14.jpg)
วันเสาร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วย นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการ คสช. และ นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ คสช. ร่วมเปิด “ศูนย์พัฒนาขับเคลื่อนนโยบายและรองรับภัยพิบัติชุมชนชมภู” ณ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลชมภู ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายสราวุธ อ่อนละมัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์พัฒนาขับเคลื่อนนโยบายและรองรับภัยพิบัติชุมชนชมภู
พร้อมทั้งร่วมเดินเยี่ยมชมบูท และรับฟังเรื่องเล่าจากประสบการณ์ พื้นที่ อาทิ ประสบการณ์รับมือภัยพิบัติ โซนที่ 1 โซนที่ 2 และโซนที่ 3 เรื่องการจัดการตนเองของชุมชนในสถาณการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม(ทีมงานศูนย์ ) การจัดการตนเองของตำบลในสถาณการณ์ภัยพิบัติ COVID (รพสต บ้านพญาชมภู) การพัฒนาศักยภาพรองรับภัยพิบัติ ทีมฮีโร่ กู้ชีพ (โรงเรียน) การจัดการตนเองในสถาณการณ์ภัยพิบัติ PM 2.5. (สภาลมหายใจ) การจัดการตนเองของตำบลในสถาณการณ์ภัยพิบัติ โรค NCD (รพสต บ้านพญาชมภู) การเตรียมพร้อมในการขัดตั้งศูนย์พักพิงและครัวชุมชน (ศูนย์ยืม คืน ซ่อม สร้าง ตำบลชมภู ) การจัดการกลุ่มคนเปราะบางในสถานการณ์ภัยพิบัติ (ศูนย์บริการคนพิการ) พลังมวลชน จิตอาสา กรรมการหมู่บ้าน ชรบ อปพร ธนาคารเวลา (ธนาคารเวลา) การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (CHIA) และการสานพลังเครือข่ายเพื่อการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ (พอช. สมัชชาสุขภาพ )
![2](/sites/default/files/inline-images/LINE_ALBUM_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%20%E0%B8%95.%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B9_241130_66.jpg)
นายสราวุธ อ่อนละมัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตำบลชมภู อำเภอสารภี ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นอย่างมาก ซึ่งการจัดตั้งศูนย์พัฒนาขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และรองรับภัยพิบัติชุมชน ตำบลชมภู จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ประสานงานทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ เพื่อให้การเตรียมความพร้อมและการรับมือภัยพิบัติ มีความรัดกุม มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากชุมชนในทุกภาคส่วน ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่
การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง รวมทั้งการฝึกอบรมส่งเสริมทักษะและให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนรู้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง และ สามารถรับมือกับภัยพิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งด้านการเตรียมพร้อมทางการแพทย์ การให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร และน้ำดื่ม การฟื้นฟูพื้นที่หลังภัยพิบัติ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึก ในการเตรียมความพร้อมให้กับคนในชุมชนอีกด้วย
นายสราวุธ กล่าว
![4](/sites/default/files/inline-images/S__4350072.jpg)
นายอนันต์ แสงบุญ คณะกรรมการประสานภาคีเครือข่าย ศูนย์พัฒนาขับเคลื่อนนโยบายและรองรับภัยพิบัติชุมชนชมภู กล่าวว่า ด้วยตำบลชมภู อ.สารภี มีทุนทางสังคมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเข้มแข็งของชุมชน การช่วยเหลือเกื้อกูลกันของสมาชิกในชุมชนจึงเป็นการช่วยลดผลกระทบได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น บทบาทของของผู้นำชุมชน จิตอาสา และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงเป็นบทบาทสำคัญในการสนับสนุนด้านสุขภาพและการจัดการปัญหาในพื้นที่ ได้อย่างเท่าทัน นายอนันต์ กล่าว
![5](/sites/default/files/inline-images/LINE_ALBUM_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%20%E0%B8%95.%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B9_241130_72.jpg)
นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือภัยจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อม และการวางแผนรับมือของชุมชน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
การเปิดศูนย์แห่งนี้ เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ในการรับมือกับภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการรับมือภัยพิบัติชุมชนที่เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความปลอดภัย และความยั่งยืนให้กับทุกคนในสังคม นพ.สุเทพ กล่าว
การจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาขับเคลื่อนนโยบายและรองรับภัยพิบัติชุมชนชมภู” ยึดหลักการดังต่อไปนี้
- การใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและพื้นที่เป็นฐาน
- การจัดตั้งโครงสร้างระดับชุมชน: เริ่มจากการสร้างคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากประชาชนในชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เสียงของประชาชนเป็นที่เคารพและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
- พื้นที่เป็นฐาน: มุ่งเน้นการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่นั้นๆ เพื่อตอบสนองปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะ
2. การบูรณาการเครือข่าย
- เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายหลากหลายมิติ: ควรรวมตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมในการพัฒนาศูนย์ โดยมีการแบ่งบทบาทและความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
- ส่งเสริมความร่วมมือ: สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เช่น หน่วยงานด้านสาธารณสุข อาสาสมัครป้องกันภัยพิบัติ หน่วยงานท้องถิ่น และนักวิชาการ
3. การจัดการองค์ความรู้
- การเก็บรวบรวมและพัฒนาความรู้ท้องถิ่น: เก็บข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการรับมือภัยพิบัติในชุมชนท้องถิ่นและผสานเข้ากับองค์ความรู้ทางวิชาการ เพื่อสร้างชุดความรู้ที่สามารถใช้งานได้จริง
- การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน: จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมชุมชนเกี่ยวกับการป้องกันและฟื้นฟูภัยพิบัติ ให้เป็นสถานที่ที่ประชาชนสามารถมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ได้
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์: จัดกิจกรรมให้ประชาชนและเครือข่ายมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเผชิญกับภัยพิบัติ โดยใช้รูปแบบของเวทีสาธารณะหรืองานเสวนาชุมชน
- การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร: ใช้สื่อออนไลน์และสื่อสังคมเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลและความรู้ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย
5. การสื่อสารสังคมอย่างบูรณาการ
- การจัดทำแผนการสื่อสารสาธารณะ: วางแผนและพัฒนาสื่อที่เข้าถึงง่าย มีความหลากหลาย ทั้งสื่อดิจิทัลและสื่อชุมชนเพื่อให้ข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง
- การสร้างระบบแจ้งเตือนภัย: พัฒนาระบบเตือนภัยที่เชื่อมโยงกับชุมชน เช่น การใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ การใช้สื่อสังคม หรือการสื่อสารผ่านเครือข่ายวิทยุท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงที
6. การปฏิบัติการป้องกัน เตรียมการ ตอบโต้ และฟื้นฟูภัยพิบัติ
- แผนปฏิบัติการรองรับภัยพิบัติ: ศูนย์ต้องมีแผนปฏิบัติการที่ครอบคลุมทั้ง 4 ระยะ ได้แก่ การป้องกัน การเตรียมการ การตอบโต้ และการฟื้นฟู โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน
- การฝึกซ้อมการรับมือภัยพิบัติ: ควรมีการจัดฝึกซ้อมเป็นประจำเพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่มีความพร้อมรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
![1](/sites/default/files/inline-images/LINE_ALBUM_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%20%E0%B8%95.%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B9_241130_1.jpg)
![2](/sites/default/files/inline-images/S__4350068_0.jpg)
![3](/sites/default/files/inline-images/LINE_ALBUM_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%20%E0%B8%95.%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B9_241130_40.jpg)
![](/sites/default/files/images/contents/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%20.jpg)