ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานภาคีในภาคใต้ ออกโรงร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมวางแผนรับมือ สร้างเครือข่ายทั้งด้านวิชาการ ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่มีภารกิจหลัก เพื่อรับมือการการเกิดภัยพิบัติในภาคใต้ โดยจัดในเวที “Policy Forum : เตรียมพร้อมภาคใต้รับมือภัยพิบัติ” วันพฤหัสบดี ที่ 24 ตุลาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
เวทีดังกล่าว มีการเช็คความพร้อมกลไกการจัดการรับมือภัยพิบัติของหน่วยงานและชุมชนท้องถิ่น มีการประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติในภาคใต้ว่า “หนักแค่ไหน จะต้องหนีเมื่อไร หนีอย่างไร หนีไปไหน” พร้อมทั้งเตรียมทำข้อเสนอเชิงนโยบายทุกระดับเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งชุมชนจัดการภัยพิบัติ
จากการวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติภาคใต้ ที่เป็น Worse case พบว่า 1) ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงมาถึง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมาฝนมากกว่าปกติ ตกต่อเนื่อง ทำให้ตอนนี้ดินอิ่มตัวแล้ว 2) ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้น่าห่วงเป็นพิเศษ เพราะจากการที่ฝนตกหนัก น้ำหลากปีที่แล้ว สิ่งกีดขวาง หรือสัมปสิทธิ์ทางหน้าดินหายไป เมื่อฝนตกลงมาก็ทำให้ท่วมหลากง่ายมากขึ้น และ 3) พื้นที่เดิมที่เคยเกิดดินถล่ม เช่น ที่ร่อนพิบูลย์ ภูเก็ต นราธิวาส เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีหินแกรนิต เมื่อฝนตกจะอุ้มน้ำ แบะขยายตัว เป็นปัจจัยว่าตรงไหนที่มีหินแกรนิต ก็จะเสี่ยงดินถล่ม
ในช่วงแรก ได้มีการทบทวนต้นทุนในการรับมือในปัจจุบันในภาคใต้ โดยพบข้อมูลที่เป็นต้นทุนสำคัญ เช่น
1. ปัจจุบันมีชุมชนที่เข้มแข็ง ผ่านการฝึกซ้อมแผนรับมือ หรือเป็นเครือข่ายจัดการภัยพิบัติประมาณ 60 ชุมชน หรือ 10% ของภาคใต้ แต่พื้นที่เสี่ยงมีทั้งหมด 531 ตำบล ซึ่งต้องอบรมและจัดระบบรับมือภัยพบัติให้ครบทุกพื้นที่
2. มีเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ของมูลนิธิฯ จำนวน 10 เครือข่าย ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดำเนินงานตามแผนงานด้านเทคโนโลยี เช่น จัดหาวิทยุสื่อสาร เสาสูงส่งสัญญาณวิทยุ ติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ และแผนงานด้านฟื้นฟูและพัฒนาเชิงพื้นที่ เช่น การฟื้นฟูแหล่งน้ำ การเสริมโครงสร้างน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ และบรรเทาอุทกภัย
3. มีแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม พร้อมบอกระดับความเสี่ยง และมีแผนที่เจาะในระดับชุมชน โดยมีพื้นที่เสี่ยงภาคใต้ 14 จังหวัด 531 ตำบล และระดับชุมชน (โดยกรมทรัพยากรธรณี)
4. ข้อมูลดังกล่าวยังขาดการเข้าถึงและนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้ เน้นการเชื่อมให้ข้อมูลเหล่านี้ลงไปที่ท้องถิ่น รวมถึงทำอย่างไรให้ชุมชนพื้นที่เสี่ยงมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการรับมือภัยพิบัติ มากยึ่งขึ้น
5. หลายชุมชนมีระบบเตือนภัย และมีการจัดทำฐานข้อมูลเตือนภัย (น้ำฝน ระดับน้ำ ดินชุ่มน้ำ) ใช้องค์ความรู้ทีมีในท้องถิ่น สร้างเครื่องมือง่ายๆ ของชุมชน เช่นกระบอกวัดน้ำฝน การเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกลไกของหน่วยงาน และต้องมีการประสานงานกันในชุมชน
นอกจากนี้ได้วิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขข้อจำกัด ที่นำไปสู่การจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
1. ไม่ยิดติดกับระเบียบกฏหมาย เช่น เมื่อเกิดภัยหน่วยงานราชการไม่สามารถลงมาช่วยได้ ชาวบ้านหรือแกนนำต้องลุกขึ้นมาตัดสินใจด้วยตัวเอง เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์
2. ใช้การคาดการณ์ให้เป็นประโยชน์จากฐานข้อมูลที่มี เช่น Thai water
3. อาศัยข้อมูลการเตือนภัยหลากหลายช่องทาง
4. มีฐานข้อมูล จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ง่ายและนำไปใช้ได้เลบ
5. ชุมชนมข้อมูลพื้นที่ ที่ครบถ้วนได้แก่ แผนที่จุดเสี่ยง แผนที่ปลอดภัย มีผังรับมือภัย
6. เน้นย้ำการเฝ้าระวัง การเตรียมตัวรับมือที่คนในชุมชนตระหนักรู้ มากกว่าส่งผู้นำไปอบรม
ผู้เข้าร่วมในหลายพื้นที่ ได้มีข้อเสนอแนะต่อการรับมือภัยพิบัติที่สำคัญ เช่น
1. ทุกท้องถิ่นจัดตั้งศูนย์เตือนความพร้อมระดับท้องถิ่น มีการสำรวจจุดเสี่ยง จุดเตือนภัยในระดับชุมชน และทุกพื้นที่ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าครบทุกตำบล
2. ให้มีการจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติระดับชุมชน เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น
3. มีการสั่งการจากหน่วยงานให้มีการดำเนินการที่รวดเร็วและครบถ้วนทุกตำบล ทั้งการจัดตั้งกองทุน
4. ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติในการจัดการภัยพิบัติทุกมิติ ทั้งน้ำท่วม แล้ง ภัยธรรมชาติ
ในช่วงท้าย นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ คสช. ได้ย้ำบทบาทและความสำคัญของ สช. ในการช่วยผลักดันนโยบายทั้ง 3 ระดับ พร้อมทั้งเสนอให้ใช้กลไกสมัชชาสุขภาพ มาจัดประชุมวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนานโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่ ทั้งนี้ สช. จะหนุนให้เกิดเครือข่ายจัดการภัยพิบัติในระดับชุมชน โดยเลือก 2 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล และ ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และสนับสนุนการจัดเวทีหารือในการปรึกษาหารือการจัดการภัยพิบัติ ทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ โดยในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการทบทวนข้อเสนอเชิงนโยบายและจัดเวทีหารือการับมือภัยพิบัติในงานดังกล่าวด้วย
ปิดท้ายด้วย 5 ข้อเสนอของ รศ. ดร.ณฐพงศ์ จิตร์นิรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ตอกย้ำว่า “ภาคใต้กำลังจะเข้าสู่สังคมเสี่ยงภัย ในด้านภัยพิบัติอย่างถ้วนหน้า” ดังนี้
1. มี “ข้อมูล” ที่ทุกคนเข้าถึง รับแบะส่งต่อไปยังหน่วยงานกลไกที่เกี่ยวข้องได้ เป็นข้อมูลที่สาธารณะที่สามารถ รับ เสพ นำไปสู่การจัดการรับมือภัยพิบัติได้
2. สร้าง “ความรู้” ในการรับมือภัยพิบัติ 2 ระดับได้แก่ ระดับปัจเจกบุคคล และความรู้ระดับกลุ่ม เครือข่าย ชุมชน เป็นปัญญารวมหมู่ จัดการเป็นขบวนการเมื่อภัยมา สร้างความรู้ที่เป็นบทเรียนจากประสบการณ์ตรง จากที่หนึ้งสู่อีกที่หนึ่ง จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังที่หนึ่ง
3. เชื่อม “ระบบปฏิบัติการ” จัดการภัยพิบัติ ในระดับพื้นที่ ว่าควรจะต้องใช้กลไกไหน ซึ่งควรใช้กลไกที่แอคทิฟ ในระบบปฏิบัติการต้องมีทั้ง Hardware Software ขึ้นอยู่กับศักยภาพของชุมชน อพยพ ครัวกลาง มีการเชื่อมโยงกันเองและเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายนอก
4. มี “ศูนย์หน่วยเคลื่อนที่เร็ว” Hotline ทำในรูปแบบเครือข่าย คู่ขนานกับหน่วยงานรัฐ เพราะมีงบประมาณมหาศาล แล้วผลักสู่นโยบายชาติ คือขยับฐานนโยบายให้กว้างขึ้น ทำให้เกิดนโยบายจัดการรับมือภัยพิบัติ ก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัยพิบัติ
5. ต้องมี “พื้นที่กลางหรือพื้นที่พูดคุย” ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลกระทบที่ส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติในระดับพื้นที่อย่และระดับชาติ อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องโครงสร้าง การทบทวนนโยบายที่เข้ามากระทบต่อวิถีชีวิต
หลังจากจัดเวทีในครั้งนี้แล้ว ในส่วนของภาคประชาสังคม ภาคีเครือข่าย สสส. สช. พอช. หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษาในภาคใต้ จะนัดหมายการหารือ โดยจะเชิญทางภาคการเมืองเข้ามาร่วม เพื่อวางนโยบายการสนับสนุนที่ตอบโจทย์ เพราะถ้าทุกภาคส่วนพร้อมกันขนาดนี้ ก็สามารถจัดการลดผลกระทบได้ แม้ว่าภัยพิบัติจะแรงขึ้นก็ตาม
- 23 views