นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดแนวคิดการเตรียมการ ให้ยึดหลักคิด "ครูบาน้อย" 3 ประการดังนี้ 1.หลักการ ทำอะไรต้องยึดหลักการไว้ให้ดี จะจูงกันไปทางไหน ภายใต้แนวคิดอะไร 2. วิชาการ มีข้อมูลรู้จริง ใช้เหตุและผล ก่อนตัดสินใจ 3. ปฏิบัติการ คิดเสร็จแล้วต้องลงมือทำ และถอดความรู้ ที่เหมาะสม หลังจากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ต้องมี อย่างน้อย 4 ข้อ คือ ปรับปรุง ตบแต่ง ส่งเสริม พัฒนา
KLT Center ศูนย์นโยบายสาธารณะและรองรับภัยพิบัติ
- Knowledge and Information ความรู้ ข้อมูล
- Learning การเรียนรู้
- Training การฝึกฝนให้เกิดสัญชาติญาณ
ให้ระลึกเสมอว่า "เด็กทุกคนในชุมชนคือลูกหลานของพวกเรา ผู้หญิงทุกคนที่ตั้งครรภ์กำลังดูแลอนาคตของชมภู"
นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึง 3 ระยะในการทำงานต่อจากนี้ 1.ระยะเตรียมการรับมือภัยพิบัติ 2.ระยะเผชิญเหตุภัยพิบัติ 3.ระยะฟื้นฟูหลังจากประสบเหตุ ดังนั้นจะสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างไร คงต้องออกแบบในวันนี้
ด้าน อ.วรางคนา เครือข่าย HIA ภาคเหนือ มช. แลกเปลี่ยนสถานการณ์ในพื้นที่พบว่า บางพื้นที่ เคยพบน้ำท่วม บางพื้นที่ไม่เคยพบน้ำท่วม ดังนั้นการตั้งรับหรือการเรียนรู้แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเชื่อและประมาณไม่ยอมเคลื่อนย้ายของจากพื้นที่เสี่ยง ทำให้การจัดการและการช่วยเหลือเป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง เรื่องสำคัญของเรื่องนี้คือการ เตรียมการรองรับและเรียนรู้ไม่ประมาท รวมถึงการจัดตั้งศูนยืชุมชน ที่มีความพร้อมทั้งด้านอาหาร ยา ที่พักอาศัยชั่วคราวให้เพียวพอ ไม่ต้องรอพึ่งพาการช่วยเหลือจากภายนอก การตั้งรับการเตรียมความพร้อม รวมถึงเรื่องของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นชุมชน เรื่องความช่วยเหลือต่างๆ ระการเข้าใจระบบขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยา หลังจากนั้น ปัญหา สิ่งแวดล้อม ก็จะตามมา มีเรื่อง สิ่งปฏิกูล ขยะ และโรคระบาดตามมา การสร้างกลไกสร้างเครือข่ายเตรียมความพร้อมในชุมชน จึงเป็นทิศทางและหลักการที่สำคัญ ในการทำงาน
ทีม พอช. ภาคเหนือ เน้นย้ำเรื่อง การสร้างเครือข่ายชุมชนที่ทำงานในพื้นที่ ภาคีหน่วยงานต่างๆ ที่เสริมหนุนปฏิบัติการการเตรียมความพร้อม
ลงมือร่วมกันที่ชมภูเป็นพื้นที่ต้นแบบ ทั้งด้านจัดการ 1.ที่อยู่อาศัย 2.การดูแลกลุ่มเปราะบาง 3.ระบบสาธารณสุข โดยผู้นำชุมชนพร้อมยินดี ในการจั้งตั้งศูนย์รองรับภัยพิบัติ เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การดูแลบ้านหลังน้ำลดระบบเตือนภัย เสียงตามสาย ที่ต้องเพิ่มขึ้นอุปกรณ์กลางของหมู่บ้าน ทรัพยากรกลาง การ สร้างคน สร้างทีม สะสมทรัพยากร ระบบด้านสาธารณสุข การจัดการการภัยพิบัติดูแลผู้ป่วย กลุ่มเปราะบาง การดูแลรักษา โรคระบาดต่างๆ ขั้นตอนการดูแลตามหลักวิชาการ เวชภัณฑ์ยา สิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ ปริมาณไม่เพียงพอ
การบริหารความขัดแย้ง เรื่องร้องเรียนต่างๆ จากหมู่บ้านจัดสรร บริเวณพื้นที่นั้น อาศัยในพื้นที่ และมีการโพสลงโซเชียล จะดึงเข้ามาเป็นกำลังสำคัญอย่างไร และเรื่องการขาดแคลนยา ที่ต้องบริหารจัดการ
สิ่งที่ต้องทำต่อคือการเตรียมหน่วยงานสนับสนุนระหว่างประสบภัย ความตื่นเต้นจากการเผชิญเหตุบริหารจัดการกลางไม่มีเกิด ความซับซ้อนกันซึ่งทำให้การช่วยเหลือกระจุกไม่กระจาย และเช่น มีที่ให้อาหาร 4 ที่ แต่ทำกระเพราเหมือนกันทั้ง 4 ที่ อาหารจึงคล้ายกัน และเหลือทิ้งทำให้เน่าเสีย ต้องมีการบริหารโดยชุมชน มากกว่าการรับบริจาคภายนอก
ทั้งนี้ มช. ยินดีเข้ามาสนับสนุน เรื่อง ภูมิศาสตร์ แผนที่ภูมิประเทศเข้ามาช่วยในการทำงาน ให้รู้เรื่องกายภาพ ของเรา ตำบลชมภู หลักการ สถานการณ์ ข้อมูล วิชาการ มช. จะช่วยเสริมกระบวนการ HIA และปฏิบัติการ เน้นให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท้องถิ่นเป็นกำลังหลัก
และ สช. มาช่วยกระตุ้นและเตรียมการตั้งศูนย์จัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง โดยจะทำอย่างไร โดยให้ทางท้องถิ่นเป็นฝ่ายสนับสนุน การทำงานต่อไป ข้อมูลที่ทุกฝ่ายเชื่อ การสื่อสาร ข้อมูล วิชาการ หน่วยงานจัดการ ทรัพยากร หน่วยปฏิบัติการเร็วโครงสร้าง กลไกกลางในการทำงาน
ทั้งนี้ จะมีการวางแนวทางการเปิดศูนย์ขับเคลื่อนนโยบายและรองรับภัยพิบัติชุมชน ในวันที่ 11 พ.ย.2567 โดยใช้พื้นที่หน้าวัดศรีดอนมูล เป็นจุดรวมพล และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านกำนันเป็น war room รองรับภัยพิบัติ
- 17 views