ปักหมุด ตั้ง “ศูนย์’ภัยพิบัติชุมชนชมภู” แห่งแรก | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

EOC สช.  ลงพื้นที่ ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ วางแนวทางตั้ง “ศูนย์ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและรองรับภัยพิบัติชุมชน” ภายใต้ภารกิจ KTL Center : Knowledge and Information, Training, Learning และมี EOC ชุมชน เป็นหน่วยงานกลางในการบัญชาการสถานการณ์ในชุมชน

 

1

 

การจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและรองรับภัยพิบัติชุมชน” ตามแนวทางที่เสนอ โดยยึดหลักการดังต่อไปนี้:

1. การใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและพื้นที่เป็นฐาน

 • การจัดตั้งโครงสร้างระดับชุมชน: ควรเริ่มจากการสร้างคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากประชาชนในชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เสียงของประชาชนเป็นที่เคารพและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

 • พื้นที่เป็นฐาน: ควรมุ่งเน้นการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่นั้นๆ เพื่อตอบสนองปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะ

2. การบูรณาการภาคีเครือข่าย

 • เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายหลากหลายมิติ: ควรรวมตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมในการพัฒนาศูนย์ โดยมีการแบ่งบทบาทและความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

 • ส่งเสริมความร่วมมือ: สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เช่น หน่วยงานด้านสาธารณสุข อาสาสมัครป้องกันภัยพิบัติ หน่วยงานท้องถิ่น และนักวิชาการ

3. การจัดการองค์ความรู้

 • การเก็บรวบรวมและพัฒนาความรู้ท้องถิ่น: ควรเก็บข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการรับมือภัยพิบัติในชุมชนท้องถิ่นและผสานเข้ากับองค์ความรู้ทางวิชาการ เพื่อสร้างชุดความรู้ที่สามารถใช้งานได้จริง

 • การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน: จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมชุมชนเกี่ยวกับการป้องกันและฟื้นฟูภัยพิบัติ ให้เป็นสถานที่ที่ประชาชนสามารถมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ได้

4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 • การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์: ควรจัดกิจกรรมให้ประชาชนและเครือข่ายมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเผชิญกับภัยพิบัติ โดยใช้รูปแบบของเวทีสาธารณะหรืองานเสวนาชุมชน

 • การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร: ใช้สื่อออนไลน์และสื่อสังคมเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลและความรู้ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย

5. การสื่อสารสังคมอย่างบูรณาการ

 • การจัดทำแผนการสื่อสารสาธารณะ: วางแผนและพัฒนาสื่อที่เข้าถึงง่าย มีความหลากหลาย ทั้งสื่อดิจิทัลและสื่อชุมชนเพื่อให้ข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง

 • การสร้างระบบแจ้งเตือนภัย: พัฒนาระบบเตือนภัยที่เชื่อมโยงกับชุมชน เช่น การใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ การใช้สื่อสังคม หรือการสื่อสารผ่านเครือข่ายวิทยุท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงที

6. การปฏิบัติการป้องกัน เตรียมการ ตอบโต้ และฟื้นฟูภัยพิบัติ

 • แผนปฏิบัติการรองรับภัยพิบัติ: ศูนย์ต้องมีแผนปฏิบัติการที่ครอบคลุมทั้ง 4 ระยะ ได้แก่ การป้องกัน การเตรียมการ การตอบโต้ และการฟื้นฟู โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน

 • การฝึกซ้อมการรับมือภัยพิบัติ: ควรมีการจัดฝึกซ้อมเป็นประจำเพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่มีความพร้อมรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

2

 

โดยเป็นการหารือร่วมกันระหว่าง EOC สช. และ ศูนย์ชมภูกรุณา และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 1.นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 2.นายจารึก   ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 3.นายเตชิต ชาวบางพรหม หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนสุขภาวะเขตเมือง 4.นางวันเพ็ญ   ทินนา นักบริหารจัดการอาวุโส 5.นายอนันต์ แสงบุญ นักวิจัยชุมชน 6.นางมัลลิกา ตะติยาพรพันธ์ ผอ.รพ.สต.บ้านพญาชมภู 7.นายอินสม อุตสภา ประธานศูนย์บริการผู้พิการตำบลชมภู 8.นางสาวกันต์นภัสสรณ์ พัชรสุริยา จนท.ศูนย์บริการคนพิการตำบลชมภู. 9.นางสาวรุ่งทิวา ทาทอง 10. นางชวนพิศ สุนทรสารทูล 11.คุณธีรชาติ มูลนิธิครูบา วัดศรีดอนมูล 12.คณะสาธารณสุขศาสตร์

 

3

 

“ศูนย์’ภัยพิบัติชุมชน” ทำอะไรบ้าง

  • ระยะเริ่มต้น ชุมชนต้องคำนึงถึงการช่วยตัวเองได้

1. มีโครงสร้างการสั่งการชัดเจน คำนึงถึงความปลอดภัยของทุกคนในชุมชน มีกำลังคนแบ่งบทบาททีมงานชัดเจน โดยมีระบบการสื่อสารในภาวะวิกฤติ

2. มีความรู้ ภูมิปัญญา ของพื้นที่ และข้อมูลคนในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ต้องช่วยใครก่อน รวมถึงในยามจำเป็นใครกรุ๊ปเลือดอะไร สามารถให้ใครได้บ้าง พื้นที่สูงปลอดภัยอยู่ตรงไหน

3. อุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิตต้องมีความพร้อม อาหาร อาศัย อาภรณ์ อนามัย ที่มีความพร้อมทั้งมีอยู่แล้วหรือสิ่งรอบตัวที่ประยุกต์ใช้ได้

4. เส้นทางหลักที่ต้องรักษา พาหนะสำหรับสัญจรและลำเลียงคนทุกวัย ทุกประเภท รวมถึงการส่งอาหารให้ผู้ประสบภัยต่างๆ เช่นส่งอาหารทางสายลอกชักจูงไม่ต้องเสี่ยงภัยการเดินทาง

 

  • ระยะเตรียมความพร้อม ซักซ้อมและเตรียมฝึกซ้อมคนที่เป็นกำลังหลัก

1. ภาวะผู้นำ จิตอาสา ทีมทำงานเพื่อสาธารณะประโยชน์ มีการตั้งโครงสร้างอาสาในการทำงานที่ชัดเจน

2. ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ความรู้ที่ต้องมี

3. ความเข้าใจในระบบ ศูนย์’ภัยพิบัติชุมชน มี flowchart ปฏิบัติการที่ชัดเจน สามารถทบทวนได้สม่ำเสมอ

4. เรียนรู้การดูแลด้านสุขภาพกาย จิต และยารักษาโรค รวมถึงการป้องกันโรคระบาดในภาวะวิกฤติ ให้มีการเตรียมการสม่ำเสมอ

5. กำหนดจุดเสี่ยงภัย จุดปลอดภัย เส้นทางการเดินเข้าถึงจุดปลอดภัย (คล้ายทางหนีไฟ)

6. ระบบข้อมูลที่เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ เช่น การลำดับการช่วยเหลือ ข้อเสนอสิ่งของจำเป็นเร่งด่วนของพื้นที่ เงื่อนไขหรือข้อจำกัดของพื้นที่

 

  • ระยะฟื้นฟู

การเตรียมกำลังคน จิตอาสาสำหรับการฟื้นฟูเข้าสู่สภาวะปกติให้เร็ว เพื่อให้ทุกคนในชุมชนสามารถดำเนินชีวิต ประกอบอาชีพของตนเองได้ รวมไปถึงการชำระล้างบ้านเรือน พื้นที่สาธารณะ หากมีความจำเป็นต้องมีทุนตั้งต้น ให้ตั้งกองทุนและสามารถยืมทุนประกอบอาชีพโดยมีการรองรับการกู้โดยชุมชน รวมถึงช่างอาสา วิทยาลัยอาชีวะ ช่างเทคนิคในการซ้อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ

 

4

 

การเตรียมความพร้อมและความร่วมมือในระดับพื้นที่ระหว่าง “ศูนย์’ภัยพิบัติชุมชน”

1. วิเคราะห์ผู้เกี่ยวข้อง และเป็นกำลังสำคัญ เพื่อวางแผนการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน อาสาสมัคร รวมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

2. มีข้อมูลเสบียงชุมชน เตรียมการสำหรับอยู่ได้อย่างน้อย 3 เดือน

3. เมล็ดพันธุ์พืช(ไม้แดก โตไว ดูแลไม่ยาก) คือ สมบัติสำคัญที่ต้องเตรียมสำรองหากมีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพากันเองระยะยาว มีความจำเป็นต้องสะสมเมล็ดพันธุ์สำหรับการเพราะปลูกเตรียมไว้ แจกจ่ายให้ทุกครัวเรือนช่วยกันทำแหล่งอาหารของชุมชน

4. การเตรียมการพื้นที่กลางสำหรับแหล่งอาหารของชุมชน (ซุปเปอร์มาร์เก็ตชุมชน) ผลไม้ กล้วย ผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา

 

โดยกำหนดแนวทางการทำงานต่อดังนี้

  • เวที 1 วันที่ 28 ตุลาคม 2567 เข้าใจ

เพื่อทำความเข้าใจ สร้างความรู้ ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของพื้นที่ เชิญหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ ท้องทุ่ง และท้องท่าน(ภายนอก) จิตอาสาต่างๆ เพื่อทบทวน สะท้อนสิ่งที่ทำมาแล้ว

  • เวที 2 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 เข้าถึง

จัดกระบวนการฝึกอบรม ความรู้และบทเรียนจากทีมงานภายนอก สสส. สพฉ. มูลนิธิกู้ภัยกู้ชีพ ปภ. หวังให้เกิด Outcome : guideline และโครงสร้างการทำงานของชุมชนเอง

  • เวที 3 พัฒนา เป็นเวทีเตรียมการขับเคลื่อนแบ่งบทบาทการทำงานตาม guideline และ โครงสร้างที่วางไว้ วางปฏิทินการซักซ้อม เตรียมการ เรียนรู้ต่างๆ

▪️ระยะสั้น อาจมีพื้นที่กลาง เช่น วัด เพาะปลูก อาหาร จัดการเสบียงกลางชุมชน

▪️ระยะกลาง หน่วยงานตรงกลางระดับประเทศต้องรวางระบบการเชื่อมต่อใยแมงมุมในระดับพื้นที่เพื่อให้เห็นภาพการทำงานอย่างเป็นระบบมีการกระตุ้น การซักซ้อนสม่ำเสมอรายไตรมาส

▪️ระยะยาว มีการประเมินผลความพร้อมในการทำงานเท่าทันตลอดเวลา โดยสช. ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงเครือข่าย วิธีการทำงาน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

 

56

 

หมวดหมู่เนื้อหา