สช.-ภาคี จัดเวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและขับเคลื่อนบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
สุเทพ เพชรมาก


เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จัดเวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและขับเคลื่อนบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม.

โดยได้รับเกียรติจาก นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานกรรมการประสานและพัฒนา ระบบสุขภาพช่องปากสำหรับประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง แนวคิดและทิศทางการพัฒนาและขับเคลื่อนบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น  และ นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ทพ.สุชิต พูลทอง นายกทันตแพทยสภา  กล่าวเปิดงาน
 

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ


สำหรับการจัดทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 10 หน่วยงาน ได้แก่ ทันตแพทยสภา, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย,  สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย, สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
 

ทันตแพทยสภา

 

สุเทพ เพชรมาก


โดยภารกิจหลักเกี่ยวกับการพัฒนาและขับเคลื่อนรถทันตกรรมเคลื่อนที่ที่หน่วยงานทุกฝ่ายตกลงร่วมกัน 2 ประการสำคัญ ได้แก่

(1) งานศึกษาวิจัยการออกแบบพัฒนารถทันตกรรมเคลื่อนที่ และรถทันตกรรมเคลื่อนที่ไฟฟ้า (EV: Electric Vehicle) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบพัฒนารถทันตกรรมเคลื่อนที่และรถทันตกรรมเคลื่อนที่ไฟฟ้า เช่น ความคุ้มค่า ความเสี่ยง ประสิทธิภาพ การดูแลบำรุงรักษา การบริหารจัดการ งบประมาณ ประโยชน์ที่หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่จะได้รับ ตลอดจนภารกิจหน้าที่และอำนาจของท้องถิ่น และพัฒนาเป็นคู่มือแนวทางปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจของผู้บริหารหน่วยงาน สู่การกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนงานออกแบบพัฒนาและขับเคลื่อนรถทันตกรรมเคลื่อนที่ไฟฟ้าระดับพื้นที่

(2) งานพัฒนาและขับเคลื่อนรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น สร้างความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาและขับเคลื่อนรถทันตกรรมเคลื่อนที่ในระดับท้องถิ่น และให้มีการบรรจุเรื่องการพัฒนารถทันตกรรมเคลื่อนที่ รวมทั้งการให้บริการทันตกรรมไว้ในแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีการจัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ท้องถิ่นนำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีมาตรฐาน สอดคล้องกับภารกิจหน้าที่และอำนาจของท้องถิ่น เพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบาง สามารถเข้าถึงงานบริการด้านทันตกรรมได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
 

สุเทพ เพชรมาก

 

สุเทพ เพชรมาก


 

รูปภาพ