- 15 views
ณ ห้องประชุม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข 2 กันยายน 2567
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท นำเสนอ สาม ประเด็นด้วยกัน คือประเด็นแรก ชี้ให้เห็นพัฒนาการในช่วงเกือบห้าทศวรรษที่ผ่านมา (นับจากการถือกำเนิด สหพันธ์ แพทย์ชนบท เมื่อปี พ.ศ.2519 อีกสองปีข้างหน้าครบห้าทศวรรษ) ของขบวนการแพทย์ชนบท ในที่ นี้ เริ่มจาก ชมรมแพทย์ชนบทในปี พ.ศ.2521 มูลนิธิแพทย์ชนบท ในปี พ.ศ.2525 ต่อมาสร้างและพัฒนาเครือข่ายออกไป ทั้งในและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนเรียกว่า เป็นขบวนการแพทย์ชนบท ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ และนอก พื้นที่ชุมชนชนบท แต่ยังคงสนับสนุนระบบสุขภาพชนบท และรับใช้ชุมชนสังคม ในระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ จนมาถึงการขับเคลื่อนในระดับนโยบาย
ประเด็นที่สอง คือ พัฒนาการของระบบสุขภาพไทย มีความก้าวหน้าไปมาก เมื่อสามปีที่ผ่านมา ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (John Hopkins University และ Nuclear Threat Initiative) ได้ นำเสนอผลการวิจัยระดับความเข้มแข็งด้านความมั่นคงด้านสุขภาพ (Health Security) ปี พ.ศ.2564 โดยได้ จัดอันดับให้ประเทศไทยขยับขึ้นเป็นอันดับ 5 จาก 195 ประเทศ อย่างน้อยมีปัจจัยที่สำคัญสามประการ
ประเด็นสุดท้าย ทิศทางการปฏิรูปของระบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ที่มีปัจจัยถึงพร้อมมากกว่า อดีตที่ผ่านมา นำพาไปสู่ความสำเร็จได้ ดังจะกล่าวต่อไป
1.ประเด็นแรก เกือบห้าทศวรรษที่ผ่านมา ขบวนการแพทย์ชนบทได้เติบใหญ่ขยายตัวออกไปมาก ทั้งนี้เพราะ วัฒนธรรมองค์กรของระบบสุขภาพไทย ซึ่งรวมถึง วัฒนธรรมองค์กรของกระทรวงสาธารณสุข แตกต่างกับกระทรวงอื่น ๆ ที่กระทรวงสาธารณสุข หรือ วงการสุขภาพไทย มีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิต ของผู้คน ในองค์กร มีเป้าหมายที่ ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ซึ่งเป็นพระราชปณิธานของสมเด็จพระมหิต ลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก
เมื่อกว่าสองทศวรรษที่แล้ว เพื่อนข้าราชการกระทรวงหนึ่ง ขอให้ผมไปบรรยาย ให้กระทรวงของเพื่อน ท่านนั้นฟัง เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีทำงานของแพทย์ชนบท ในกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถผลักดัน ข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือ แม้กระทั่งออกมาสัมภาษณ์คัดค้านการคอรัปชันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ฯ ที่ ไม่เคยเกิดขึ้นในกระทรวงใดเลย แม้ในปัจจุบัน
ผมได้ปฏิเสธเพื่อนข้าราชการซึ่งในอดีตเป็นผู้นำนักศึกษาที่ก้าวหน้าในยุค 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เพราะเห็นว่า ระบบสุขภาพ หรือ วงการสุขภาพไทย โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข มี พัฒนาการที่ต่างจากกระทรวงอื่น แม้ว่า อยู่ภายใต้ระบบราชการรวมศูนย์สู่ส่วนกลางเหมือนกัน
มูลนิธิแพทย์ชนบท ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่ ในกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เริ่มแรก มีนาคม พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน กว่า สี่ทศวรรษ แล้ว
ส่วน ชมรมแพทย์ชนบท นั้น เป็น องค์กรพัฒนาเอกชน ที่ถือกำเนิด เมื่อ กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2521 ทำงานอยู่ในโครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวคือ กรรมการของชมรม ปฏิบัติงานอยู่ใน โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ สามารถใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล ทำให้ทั้ง มูลนิธิ และชมรมแพทย์ชนบท ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุขในการ พัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งปฏิบัติการเชิงรุกเข้าไปในชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพมาตรฐาน
กล่าวโดยสรุป คือ มูลนิธิแพทย์ชนบท และ ชมรมแพทย์ชนบท เป็น NGOs (Non-Governmental Organizations) ที่อาศัยทรัพยากร และ มีโครงสร้างทับซ้อนกับ GO (Government organization) คือ กระทรวงสาธารณสุข
มี NGOs ใดบ้างในประเทศนี้ หรือพื้นที่อื่นใด บนโลกใบนี้ ที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับ GO และมีอิสระ ต่อกัน แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”
2.ประเด็นที่สอง :พัฒนาการของระบบสุขภาพไทย ที่มีความมั่นคงด้านสุขภาพอยู่ในแถวหน้าของโลก มีปัจจัยอย่างน้อยสามประการด้วยกัน คือ
2.1.) การปฏิรูปโครงสร้างครั้งสำคัญในกระทรวงสาธารณสุข ท่านอาจารย์หมอเสม พริ้งพวงแก้ว อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทคนแรก ได้สร้างคุณูปการ อันใหญ่หลวง ทำการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข ครั้งใหญ่เมื่อปีพศ.2517 โดยบูรณาการง าน รักษาพยาบาล เข้ากับ งานส่งเสริมป้องกันและฟื้นฟู ส่งผลให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเป็นรากฐานสำคัญใน การควบคุมป้องกันโรค ตลอดจนการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิ และระบบดูแลตนเองของชุมชน ทั้งใน ปัจจุบันและต่อไปในอนาคต
2.2.) ระบบสาธารณสุขมูลฐานที่เข้มแข็ง ระบบสาธารณสุขมูลฐานได้รับการพัฒนามา กว่าสี่ทศวรรษ นับจากปีพ.ศ.2521
มีอสม.ทั่วประเทศจำนวน หนึ่งล้านสี่หมื่นคน ในสถานการณ์วิกฤติระบาดโควิด สังคมเริ่มรู้จักและเห็น คุณค่า อสม.หรือ อาสาสมัครสาธารณสุข ได้เห็นศักยภาพของอสม.ในการเฝ้าระวัง ติดตาม รายงาน ตลอดจน ควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่ต่าง ๆ ได้
ขอบันทึกให้ทราบโดยทั่วกัน ณ ที่นี้ว่า นายแพทย์อมร นนทสุต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ วางรากฐานระบบสาธารณสุขมูลฐาน จนได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลก เป็นแบบอย่างของ ประชาคมโลก จะว่าไปแล้ว ท่านเป็นผู้วางรากฐานระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศนี้
2.3.)ระบบงานด้านระบาดวิทยา มีคุณภาพมาตรฐานสากล
วิกฤติการณ์ระบาดโควิด ทำให้สังคมรู้ว่า หมอนักระบาดวิทยาภาคสนาม ที่กระทรวงสาธารณสุขผลิต มากว่าสี่ทศวรรษ ได้ทำหน้าที่อย่างดียิ่งในระดับมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศ
จำต้องบันทึกไว้ ณ ที่นี้ว่า ผู้บุกเบิกหรือผู้ที่ควรได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาของระบบงานระบาด วิทยาไทย ได้ทุ่มเททำงานอย่างเสียสละที่หาได้ยากยิ่ง ได้อุทิศตนโดยไม่ได้คำนึงถึงความก้าวหน้าใด ๆ ในทาง ราชการ คือ นายแพทย์สุชาติ เจตนเสน เป็นผู้วางรากฐานระบบเฝ้าระวัง และควบคุมโรค ของกระทรวง สาธารณสุข และวงการสุขภาพไทย
3.ประเด็นสุดท้าย ทิศทางการปฏิรูปของระบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จ (ดูแผนภูมิประกอบ)
ขบวนการแพทย์ชนบท มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนตั้งแต่ต้น คือร่วมร่างรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน และผมได้มีโอกาสเป็น รองประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ รับผิดชอบหมวดปฏิรูปของประเทศ ที่ได้บัญญัติ การปฏิรูประบบการแพทย์ ปฐมภูมิ แพทย์เวชศาสตร์ชุมชน และอื่น ๆ (ดูรายละเอียดในบทความ “ห้าทศวรรษของขบวนการแพทย์ ชนบทไทย : จากพัฒนาระบบสุขภาพในชนบท สู่การปฏิรูประบบสุขภาพและประเทศ โพสต์ลงในเพจมูลนิธิ แพทย์ชนบท เพจติดตามการปฏิรูปประเทศกับหมอชูชัย และเว็บไซต์เว็บไซต์(website), เว็บไซต์ สสส. ,เว็บไซต์ สปสช. เว็บไซต์ สช. เว็บ ไซต์ มสช. ตลอดจน เพจ ชื่อ ชุมชนสุขภาพปฐมภูมิ และ เว็บไซต์ ชื่อระบบสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งฉบับภาษาไทย และอังกฤษ) ในที่สุด รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 : หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ช. ด้านอื่น ๆ (5) ให้มี (การปฏิรูป) ระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม
“…จึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาตร์ของวงการสุขภาพไทย ที่บัญญัติการปฏิรูประบบการแพทย์ปฐมภูมิ ไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 …”
ต่อมาได้มีการร่างพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ……นำโดย นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ (อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท พ.ศ.2541-2543) นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ (อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท พ.ศ. 2538-2541) นพ.บุญชัย ธีระกาญจน์ นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย นางจารุณี จันทร์เพชร และนายยงยุทธ ภู่ประดับกฤต จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งท่านอื่น ๆ ตามรายชื่อที่ปรากฏ ในแผนภูมิ
“พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ 2562 ผ่านรัฐสภาออกมาจนเป็นผลสำเร็จ“ พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพ.ศ. 2562 เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิ ในเวลาต่อมา
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท โดยคำแนะนำของ นพ.จเด็ด ธรรมธัชอารีเลขาธิการ สปสช. ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เสนอให้สปสช.จัดสรรงบประมาณ ระยะแรกจาก Hospital-based ไป Home-based และ Community-based สำหรับโรค 6 กลุ่มแรก ได้แก่ โรคไตอักเสบเฉียบพลัน โรคปอดบวม แผลกดทับ น้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ การดูแลหลังการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์
นายแพทย์จเด็ด ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กล่าวว่า “…พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 ทำให้ ทางสปสช.จัดสรรงบประมาณให้ระบบสุขภาพปฐมภูมิอย่างมี ประสิทธิภาพ…”
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเอื้ออำนวย อื่น ๆอีก มาก เช่น นโยบายถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล(รพ.สต.) ให้ อบจ. และ อปท อื่น ๆ : รพสต.เป็น กลไกที่สำคัญในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ปฏิรูประบบ จัดสรรงบประมาณจาก hospital-based ไปสู่home and community-based care\ services โดย สปสช.ตลอดจนระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยที่สุด(5G) TELEMEDICINE, TELEHEALTH และระบบ เทคโนโลยีทางการแพทย์ (อุปกรณ์ทางการแพทย์ตรวจอัตโนมัติ หรือ ชุดตรวจด้วยตนเองฯ) เป็นต้น
ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เห็นโอกาสในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ประสบผลสำเร็จ และจะ นำพาความอยู่รอดของระบบสุขภาพไทย ในที่สุด
หมายเหตุ: ทางมูลนิธิแพทย์ชนบท กำหนดให้มีการจัดงานเปิดตัวหนังสือชีวประวัติของศาสตราจารย์ พิเศษ นายแพทย์ธีระ รามสูต ในวันที่ 4 กันยายน 2567 เวลา 12.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปีการสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติยศ นาย แพทย์ สงคราม ทรัพย์เจริญ เป็นประธาน กล่าวมุทิตาจิต เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูคุณงามความดีและสร้างแรง บันดาลใจให้กับบุคลากรสาธารณสุขในการมุ่งมั่นร่วมกันปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป จึงขอเชิญชวนสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วมงานดังกล่าว