สช. จับมือกับ สวรส. สบช. สวสส. สร้างทีมพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน 19 แห่งทั่วประเทศไทย | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วันที่ 10 พ.ค.66 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมมือกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พร้อมด้วยคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) กระทรวงสาธารณสุข จัดเวที “ก่อร่างสร้างทีมยกระดับศักยภาพการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพด้วยนวัตกรรมการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน ณ ห้องประชุมแคทลียา 1 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร

เพื่อทบทวนการทำงานร่วมกับโหนดพี่เลี้ยงชุมชนถึงการพัฒนาขีดความสามารถด้านสาธารณสุขรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน และทำความเข้าใจเป้าหมาย กระบวนการ โครงการร่วมกัน ที่มีผู้บริหารหรือผู้แทนจาก สช. สบช. สวรส. สวสส. สปสช. ได้แก่ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโก ผศ. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล ผศ.ดร.พรฤดี นิธิรัตน์ ดร.ปิ่นณเรศ ภาศอุดม ดร.แสงดาว จันทร์ดา ดร.นวพร ดำแสงสวัสดิ์ โหนดพี่เลี้ยงชุมชน และเจ้าหน้าที่ สช. เข้าร่วมกว่า 60 คน
 

ก่อร่างสร้างทีม


การจัดเวทีครั้งนี้ สช. ได้รับการสนับสนุนโครงการวิจัยจาก สวรส. ภายใต้หัวข้อ “โครงการยกระดับศักยภาพการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพ ด้วยนวัตกรรมการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” ซึ่ง สช. ได้เชื่อมความร่วมมือกับภาคส่วนวิชาการ ได้แก่ สบช. สวสส. และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับศึกษาวิจัย ปฏิบัติการทดลอง และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนและระบบข้อมูลที่สนับสนุนชุมชนให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนในการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพ

กระบวนการเวทีมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกันระหว่างทีมนักวิจัยและโหนดพี่เลี้ยงชุมชน โดยมีกระบวนการสำคัญ ดังนี้ 1. กระบวนการแนวคิดและเครื่องมือปฏิบัติการ 2. กระบวนการนิยามวิกฤตสุขภาพ และระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน 3. กระบวนการพัฒนานวัตกรรมในเครื่องมือที่ใช้พัฒนานวัตกรรม ติดตามและประเมินผลนวัตกรรม 4. บทบาทของโหนดพี่เลี้ยงชุมชน 5. ทบทวนเครื่องมือและทำงานกับชุมชนที่ใช้เครื่องมือกระบวนการ DE  6. การประเมินบทบาทตนเองในคุณสมบัติและบทบาทการทำงานของโหนดพี่เลี้ยงชุมชน
 

จรวยพร ศรีศศลักษณ์


ผศ.ดร. จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวถึงการวิจัยยกระดับความมั่นคงด้านสุขภาพของประเทศในการพัฒนาระบบบริการเพื่อยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพว่าความสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ และการทำงานร่วมกัน เพื่อผลลัพธ์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จากการสะท้อนปัญหาการจัดการในกลุ่มที่มีความเฉพาะด้านสุขภาพ กลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถเข้าไม่ถึงระบบสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ประเทศไทยก็สามารถบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยใช้องค์ความรู้เชิงระบบ ทำให้ระบบสุขภาพสามารถตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนจนสามารถผ่านช่วงวิกฤตด้านสุขภาพมาได้ หากแต่ถ้ามองย้อนในวิกฤตก็ยังมีช่องว่างความรู้ที่ต้องเร่งเติมเต็ม โดยเฉพาะการรับมือของชุมชนหรือกลุ่มเปราะบางต่างๆ ในสังคม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ ฯลฯ ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงบริการสุขภาพทั้งในสถานการณ์ปกติและภาวะวิกฤต และกล่าวถึงทิศทางสำคัญของการดำเนินกระบวนการวิจัยที่ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนสร้างนวัตกรรมระบบปฐมภูมิของกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด และการสร้างกระบวนการเผยแพร่เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อเป็นต้นแบบแก่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป
 

ปรีดา แต้อารักษ์


นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และหัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของโครงการวิจัยว่า โครงการวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการใช้ความรู้เชิงประจักษ์ที่มีการต่อยอดจากต้นทุนการทำงานเดิมจากโปรแกรมการยุติการระบาดด้วยนวัตกรรม โครงการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านสาธารณสุขรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีววิทยาศาสตร์ ขณะนี้ถือว่าร่วมเดินทัพทางไกลมาได้ครึ่งทางแล้ว เรามุ่งหวังการสร้างระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาเข้มมุ่งของประเทศนั้นมุ่งเน้นการดูแลผู้ที่ผู้เชี่ยวชาญ คือ ระบบปฐมภูมิโดยผู้เชี่ยวชาญ ในช่วงวิกฤตสุขภาพ โดยเฉพาะโควิด-19 พบว่ามีอาสาสมัครเกิดขึ้นจำนวนมากมาย ที่เป็นเพียงกลไก เครื่องมือให้กับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เมื่อเข้าสู่สถานการณ์ปกติอาสาสมัครที่เป็นวีระบุรุษเหล่านั้นก็หายไปพร้อมกับวิกฤตสุขภาพ จะทำอย่างไรที่วางระบบ กลไก โครงสร้างที่มีความยั่งยืน และจะทำอย่างไรจากปัจเจกบุคคลยกระดับการสร้างการมีส่วนร่วม ที่ประสานผู้มีศักยภาพในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะโหนดพี่เลี้ยงชุมชนถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างครอบครัว ชุมชน และผู้เชี่ยวชาญ อันทรงพลัง มีฐานความรู้วิชาการทำงาน ดังนั้นการจัดเวทีครั้งนี้จึงมุ่งหวังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกัน โดยใช้ฐานการทำงานเดิมทั้งหมด 19 ชุมชน ทำให้เกิดการรับมือกับวิกฤตที่เกิดโดยธรรมชาติ ทำอย่างไรให้ชุมชนและคนต่อหน้าไม่ตาย ไม่เจ็บป่วย และไม่มีคนดูแล ร่วมมือในพื้นที่ ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ร่วมกันให้มีอนาคต ร่วมกันอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน
 

วิรุฬ ลิ้มสวาท


นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท หัวหน้ากลุ่มสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหัวหน้าทีมวิจัยโครงการวิจัย กล่าวว่าถึงการทบทวนต้นทุนการทำงานเดิมสู่เป้าหมายการทำงานใหม่ว่า การทำงานที่ผ่านมามุ่งเน้นการพัฒนาแต่การทำงานครั้งนี้มุ่งเน้นการวิจัย เวทีวันนี้อยากชวนมองว่าทุกอย่างที่ตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำอย่างไร สิ่งสำคัญของการปฏิบัติการสะท้อนย้อนคิด หมายถึง เราไม่ได้แยกตัวเองจากสิ่งที่ทำ แต่เราเป็นส่วนหนึ่งกับสิ่งที่ทำ เราวิเคราะห์ทบทวนตัวเองอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่เราเฝ้าสังเกต เก็บข้อมูล วิเคราะห์ วิพากษ์ และหาคำตอบกับสิ่งที่ตัวเองทำ เพราะฉะนั้นโครงการวิจัยครั้งนี้จำเป็นต้องใช้กระบวนการก่อร่างสร้างทีมวิจัยพัฒนา การพัฒนาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมนั้น คือ จริยธรรมการวิจัย ที่นักวิจัยต้องทำความเข้าใจกระบวนการจริยธรรมการวิจัยขั้นพื้นฐาน คือ หลักการประโยชน์ที่ผู้วิจัยจะได้รับ หากทบทวนการทำงานที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ผู้ได้รับประโยชน์จากการวิจัย คือ ชุมชน ชุมชนทั้ง 19 ชุมชน คือ มีประสบการณ์รับมือภาวะวิกฤตได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีอีกหลายชุมชนทั่วประเทศยังขาดประสบการณ์รับมือวิกฤต ดังนั้นเป้าหมายของโครงการวิจัยครั้งนี้ไม่ใช่สร้างนวัตกรรม แต่เป็นการทดสอบหากองค์ความรู้พัฒนาและสร้างนวัตกรรม แต่วิกฤตที่ผ่านมาจะพบเห็นว่ามีกลุ่มเปราะบางถูกละเลยทอดทิ้งเข้าไม่ถึงระบบบริการ การทำงานครั้งนี้จึงมุ่งหวังประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มเปราะบาง
 

ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา


นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รองอธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก กล่าวสรุปเวทีสุดท้ายว่า การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเป็นเรื่องยากและยังเป็นช่องว่างของระบบสุขภาพ รวมถึงการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมอย่างไร โครงการวิจัยครั้งนี้มีความท้าทายการทำงานพอสมควร แต่ทีมวิจัยได้ออกแบบกรอบแนวคิดให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติการได้ พยายามสร้างทีมงาน ด้วยโหนดพี่เลี้ยงชุมชน เวทีครั้งนี้มุ่งเน้นการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนรู้และทำความเข้าใจการทำงานร่วมกัน ถึงแนวคิด กระบวนการที่มีการประยุกต์ใช้แนวคิดทางธุรกิจมาปรับใช้กับแนวคิดทางสังคม คำนิยามต่างๆ ดังนั้นโครงการวิจัยครั้งนี้นอกจากผลงานวิจัยแล้ว สิ่งที่ได้มากกว่านั้น คือ การพัฒนาคน การเพิ่มสมรรถทีมงาน สุดท้ายสิ่งที่อยากเห็นร่วมกัน คือ ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยชุมชนมีสมรรถนะ มีความสามารถ และความรอบรู้เพิ่มขึ้น
 

ก่อร่างสร้างทีมยกระดับศักยภาพ

 

ทีมยกระดับศักยภาพ

 

ทีมยกระดับศักยภาพ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

กลุ่มงานสื่อสารสังคม สช.

โทร. 02-8329141

 

รูปภาพ
ระบบสุขภาพปฐมภูมิ