- 53 views
วันที่ 14 ก.พ. 66 ณ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำจังหวัดเชียงราย ( ปปช.จ.เชียงราย) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน โดย ขบวนองค์กรชุมชน จ.เชียงราย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำจังหวัดเชียงราย( ปปช.จ.เชียงราย) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุกจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ปปท.ภาค 5) เตรียมผลักดันเชียงรายเป็นจังหวัดต้นแบบการสร้างวัฒนธรรมสุจริต สู่การเป็น เชียงรายจังหวัดสุจริต โดย ในปี 2566 ผลักดันพื้นที่เป้าหมายสร้างความเข้มแข็งในการสร้างวัฒนธรรมสุจริต 20 พื้นที่ตำบล แลให้ครอบคลุมทั้ง 124 ตำบล ภายใน 5 ปีข้างหน้า
โดยใช้ กลยุทธ์
- สานพลัง หน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนพัฒนาคุณภาพชีวิต ขับเคลื่อนประเด็นเชียงรายสุจริต และเปิดพื้นที่ให้ประชาสังคม เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการสร้างวัฒนธรรมสุจริต ในการป้องกันการทุกจริตและการปะพฤติมิชอบ ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ
- มีกระบวนการการพัฒนาศักยภาพทั้งสร้างจิตสำนึกระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน สังคม ประกอบกับ การสร้างสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม กลไก ที่เอื้อต่อการสร้างวัฒนธรรมสุจริต
- สนับสนุนบทบาท กลไกสภาองค์กรชุมชน สร้างพื้นที่ตำบล เข้มแข็งในมิติการสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมสุจริต ด้วยกระบวนการธรรมนูญสุขภาพ หลักการ 4 ป ป้องกัน ปราบปราม ป้องปราม ประชาสัมพันธ์ เชิ่อมโยงสู่กลไกพื้นที่ระดับอำเภอ และกลไกระดับจังหวัด
- การขับเคลื่อน และการสร้างรูปธรรม การถอดบทเรียน องค์ความรู้ ยกระดับและขยายผลให้เต็มพื้นที่
โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2566
ขั้นตอนที่ 1 การออกแบบ จัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพ ระหว่าง ปปช. ปปท. สช. พอช.
ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการพัฒนาศักยภาพ เพื่อสร้างการเรียนรู้ สถานการณ์เครื่องมือ ธรรมนูญสุขภาพ เทคนิคหารสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เครื่องมือในการสร้างสังคมสุจริตของภาคีที่เกี่ยวข้อง การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เทคนิควิธีการเวทีสร้างความร่วมมือระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการออกแบบเวทีรับฟังความเห็น ข้อบัญญัติ ธรรมนูญสุจริต และการผลักดันเป็นวาระจังหวัดผ่านเวทีสมัชชา สุจริตระดับจังหวัด
ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการการจัดทำธรรมนูญสร้างวัฒนธรรมสุจริตระดับตำบล
ขั้นตอนที่ 4 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนปัญหาอุปสรรคตลอดจน และพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนธรรมนูญไปสู่การปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 5 การขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ เพื่อผลักดันให้มีแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตในพื้นทีเกิดรูปธรรมพื้นที่ปฏิบัติการ
ขั้นตอนที่ 6 กลไก การติดตามประเมินผล