การขับเคลื่อน ‘มาตรา 12’ ในเขตสุขภาพทั่วประเทศ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
Audio file
การขับเคลื่อน ‘มาตรา 12’ ในเขตสุขภาพทั่วประเทศ


... พิสิษฐ์ ศรีอัคคโภคิน


            ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ร่วมกับกรมการแพทย์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) และ เรื่องการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขตามแนวทางการปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในเขตสุขภาพทั่วประเทศ

โดยได้ดำเนินการไปแล้วใน 6 เขต ได้แก่ เขต 1 (ลำพูน) เขต 4 (นครนายก) เขต 8 (หนองคาย) เขต 9 (สุรินทร์)  เขต 11 (กระบี่) และเขต 12 (สงขลา)

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการศึกษาสถานการณ์การขับเคลื่อนมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พบว่ามีโรงพยาบาลหลายแห่งในพื้นที่มีการดำเนินการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และให้ความสำคัญต่อสิทธิผู้ป่วยในการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรา 12สามารถเป็นต้นแบบในการดำเนินงานให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้

สช.จึงได้สนับสนุนให้โรงพยาบาลในเขตสุขภาพ จำนวน ๗ แห่ง ดำเนินการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care & Living will) ตามมาตรา 12 และได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนการดำเนินการตามมาตรา 12 ผ่านทางโปรแกรม Zoom และทาง Facebook live สช. ในวันที่ 22 ก.ย. 2564

ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ 7 พื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลนางรอง โรงพยาบาลพระจอมเกล้า โรงพยาบาลนครนายก โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลน่าน และ โรงพยาบาลวังชิ้น มาถ่ายทอดประสบการณ์ และองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรา 12 ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19

ในการจัดกิจกรรมนี้ สช. ได้รับความกรุณาจาก รศ. พญ. ศรีเวียง ไพโรจน์กุล ศูนย์การุณรักษณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พญ.ประถมาภรณ์ จันทร์ทอง ศูนย์บริรักษ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.เฉลียว สัตตมัย ประธาน Service plan สาขา Palliative care เขต 9 มาเป็นผู้วิพากษ์การนำเสนอการถอดบทเรียนดังกล่าว

สช. หวังว่าประสบการณ์ของการถอดบทเรียนดังกล่าวจะเป็นแม่แบบให้โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่สนใจนำบทเรียนที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง และการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขต่อไป

 

หมวดหมู่เนื้อหา