สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

   พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติเรื่องสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพของประชาชนไว้หลายประการ ดังปรากฏในมาตรา 5 -12

 

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมกันรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพดังกล่าว รวมถึงการเผยแพร่สื่อสารต่อสังคมเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

 

   ในส่วนของสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพทั้ง 8 มาตรา มีมาตรา 12 เพียงมาตราเดียวที่มีการจัดทำกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการรองรับการปฏิบัติ

 

   มาตรา 12 เป็นเรื่องของสิทธิในการปฏิเสธการรักษา ซึ่งเป็นสิทธิที่ทุกคนมีอยู่แล้ว เพียงแต่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะรับรู้และพิจารณาเรื่องใดๆ สิทธิของผู้ป่วยในการปฏิเสธการรักษาดูเสมือนจะหายไป เนื่องจากการตัดสินใจใดๆ มักตกอยู่กับแพทย์ และญาติมิตร อีกทั้งการตัดสินใจดังกล่าวมักนำไปสู่ปัญหาหลายประการ เช่น การรักษาและค่ารักษาที่เกินจำเป็น ความขัดแย้งของญาติผู้ป่วยในการตัดสินใจปฏิเสธหรือยอมรับการรักษา

 

   แต่มาตรานี้ได้ช่วยส่งเสริมและรักษาการใช้สิทธิดังกล่าวไว้ ซึ่งสิทธินี้เป็นสิทธิของทุกคนที่จะมีโอกาสตายอย่างสงบ เป็นธรรมชาติ มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และที่สำคัญยิ่งนั่นคือ การได้อยู่ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก ก่อนชีวิตจะจากไป โดยปราศจากเครื่องเหนี่ยวรั้งจากเครื่องมือทางการแพทย์ใดๆ

 

    นอกจากนี้สิทธิในมาตรา 12 ยังช่วยให้แพทย์และทีมดูแลผู้ป่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าหมดทางรักษาให้หายและอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว

 

   การดำเนินงานที่ผ่านมา สช.และศูนย์กฎหมายฯ ได้จัดเวทีรับฟังความเห็นต่อร่างกฎกระทรวงจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำร่างกฎกระทรวง รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ในสถาบัน หน่วยงานต่างๆ และจัดทำเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในวงกว้าง (มีรายละเอียดใน www.thailivingwill.in.th และสื่อสิ่งพิมพ์ในเว็บสช.)

 

  มาตรา 7

 

   มาตรา 8

 

   มาตรา 12