การจัดการภัยพิบัติ 10 ขั้นตอน
1. แก้กฎหมาย
2.ขั้นเตรียมก่อนเกิดภัย
3.ขั้นการจัดการในภาวะวิกฤติ
4.ขั้นการฟื้นฟู
มูลนิธิชุมชนไท เชื่อมั่นว่าการเสริมความเข้มแข็งองค์ชุมชน ที่ผ่านการลงมือทำ สรุปเป็นบทเรียนการทำงานอย่างเป็นระบบ จากความหลากหลายประสบการณ์ จัดทำเป็นข้อเสนอนโยบาย ให้เอื้อ ต่อการทำงาน เพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
การจัดการภัยพิบัติ เป็น ภาระกิจของมูลนิธิที่ทำมาต่อเนื่องในพื้นที่ปฏิบัติการ ชุมชนที่เคยประสบภัยก่อนหน้านี้ โดยการสนับสนุน ของ สสส. และผลักดันนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่คืบหน้า และรัฐบาลที่ผ่านๆมา ไม่ตอบสนอง ต่อการตั้งรับปรับตัว ต่อแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะส่งผลให้ภัยพิบัติเกิดรุนแรงขึ้น ถี่ขึ้น และทุกพื้นที่ในประเทศไทยจะเสี่ยงภัยในรูปแบบต่างๆ ที่อาจไม่เคยเกิดขึ้น ยังเพิ่มความสูญเสียให้กับประชาชน ดั่งที่เกิดขึ้น อยู่ในปัจจุบัน ที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และจะลงมาที่ภาคกลาง และภาคใต้ ต่อไป เป็นโดมิโน่
อย่างไรก็ดี มูลนิธิชุมชนไท มิใช่องค์ ที่มีศักยภาพ ในการเข้าช่วยเหลือหรือตอบโต้ภัยพิบัติ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้ทั่วไป อย่างที่กลุ่มประชาชนอาสาสมัครต่างๆทำกันอย่างมีประสิทธิภาพ เรายืนยันว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้น เกินศักยภาพชุมชน ที่จะรับมือภัยพิบัติ เกินกว่ากำลังจะรับได้ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ จ.เรียงราย เรายังต้องพึ่งสังคม สาธารณะ เข้าช่วยเหลือ สนับสนุน และจากประสบการณ์ ที่เราร่วมกันทำงานส่งเสริมชุมชนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ให้กับชุมชน ในพื้นที่เคยประสบภัยมาก่อนบ้างบางส่วน ในภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ ได้ข้อสรุป ร่วมกันว่า หากรัฐบาลไม่เดินหน้า นโยบาย 10 ข้อ ในการจัดการภัยพิบัติ แล้ว ประเทศไทย จะยังคงพบกับสภาพ ดั่งที่เป็นอยู่ และหนักหนาสาหัส กว่าปัจจุบัน
เราจึง เรียกร้อง ให้ รัฐบาล
1. ยกระดับกฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย 2550 ให้มีหน้าที่ ส่งเสริม เตรียมพร้อม ป้องกันภัย ระดับชุมชน ท้องถิ่น ทั่วประเทศ พร้อมๆกัน ให้เกิดแผน เกิดคน เกิดเครื่องมือ พร้อมรับภัย ในทุกท้องถิ่น พร้อมกองทุนท้องถิ่นรับมือภัย
2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ต้องร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ในการเตรียมความรู้ให้ชุมชน การจัดทำแผนรับมือระดับชุมชน สร้างอาสาสมัคร สร้างเครื่องมือ ซ้อมแผน และจัดตั้งกองทุนท้องถิ่นรับมือภัยพิบัติ ทั่วประเทศ
3.สถาปนาองค์กรแจ้งเตือนภัยประชาชน องค์กรเดียวเป็นเอกภาพ และต้องแจ้งเตือนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ถึงประชาชน ก่อนภัยมา 72 ชั่วโมง ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
4. เมื่อเกิดภัย ทุกท้องถิ่นต้องจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ขึ้นมา เพื่อสำรวจข้อมูล การให้ความช่วยเหลือ และการร้องขอการสนับสนุน จากอำเภอ และศูนย์ระดับจังหวัด รวมทั้งการสื่อสารให้สังคมสาธารณะ รับทราบและสนับสนุนให้ตรงตามความต้องการ
5. เมื่อเกิดภัย ต้องจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว ที่มีมาตรฐานความปลอดภัย มีระบบสุขอนามัยที่ดี สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน เพื่อจะได้อพยพออกจากพื้นที่ภัยพิบัติ มาอยู่ในการดูแล ร่วมกันระหว่างผู้ประสบภัยและองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว
6. เมื่อเกิดภัย ต้องจัดตั้งครัวกลางขึ้นในระดับท้องถิ่น โดยให้มีคณะกรรมการร่วมระหว่างชุมชนผู้ประสบภัย กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ในการสำรวจข้อมูลผู้ประสบภัย การจัดการเรื่องน้ำดื่ม อาหารให้เพียงพอ ไม่ตกหล่น ในพื้นที่เขตปกครองของตน และผู้ประสบภัยข้างเคียง โดยจังหวัดต้องสนับสนุนงบประมาณทดลองราชการ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
7. จัดตั้งศูนย์บัญชาการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ เพื่อจัดวางแผน จัดระบบ จัดกำลังคน เข้าช่วยเหลือ
8. หลังเกิดภัยเร่งให้การช่วยเหลือ เพื่อให้ฟื้นคืนกับสภาพเดิมให้เร็วที่สุดตามสภาพภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจริง ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ซ่อมแซม ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภค ในครัวเรือน รวมทั้งประสานอาสาสมัคร ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าสนับสนุนพื้นที่
9. หลังเกิดภัย ต้องเร่งสำรวจข้อมูล สภาพความสูญเสีย จากภัยพิบัติทุกมิติ ทุกอาชีพ โดยเฉพาะยึดตามแนวทางระเบียบกระทรวงการคลัง เช่น ที่อยู่อาศัย ยุ้งข้าว พื้นที่ทำกิน สัตว์เลี้ยง เครื่องนอน เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม ชุดนักเรียน อุปกรณ์ภายในบ้าน เครื่องมือประกอบอาชีพ เป็นต้น โดยกรรมการร่วมระหว่างท้องถิ่น และตัวแทนผู้ประสบภัย เพื่อให้เป็นข้อมูลสำรวจครั้งเดียว ครอบคลุม ที่จะใช้กับทุกหน่วยงาน ในการชดเชยเยียวยาประชาชน
10. ต้องเร่งจ่ายค่าชดเชยเยียวยาเบื้องต้น ให้ได้ภายใน 30 วัน และเยียวยาความสูญเสียของผู้ประสบภัย ให้ครอบคลุมทุกมิติ ให้ได้ภายในไม่เกิน 90 วัน
มูลนิธิชุมชนไท ปัจจุบัน แม้มิได้มีการสนับสนุนด้านภัยพิบัติ อย่างน้อย 2 ปี แล้วก็ตาม เรายังคง เชื่อมั่นในการจัดระบบชุมชนโดยชุมชนเป็นแกนหลัก ซึ่งเป็นความถนัดเฉพาะทาง และทำมาตลอด ทำให้เรา และประสานความร่วมมือกับภาคีหลายภาคส่วน ในการฟื้นฟูชุมชน ประสบภัยเป็นแกนหลัก เท่าที่เรามีศักยภาพ ให้เกิดความยั่งยืน ต่อไป
จึงยังคงเสนอให้รัฐบาล ปรับตัว จัดระบบ ปรับระเบียบ กฎหมาย ให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจุบัน ตั้งแต่นี้ไป
- 32 views