ขยับขับเคลื่อนเพื่อสังคมไทยไร้บุหรี่ไฟฟ้า ตามมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

1

 

12 กันยายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทำแผนขับเคลื่อนประเด็นการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า” โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นเกิดการดำเนินงานและมีผลสำเร็จตามข้อมติต่างๆ บนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2. เพื่อร่วมกันระดมความเห็นและพิจารณากำหนดแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้าร่วมกัน

2

ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะประเด็นการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนกว่า 80 ท่าน อาทิ ศ.นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ นพ. วันชาติ ศุภจัตุรัส ผศ.ดร. ลักขณา เติมศิริกุลชัย ฯลฯ หน่วยงานที่เข้าร่วม อาทิ กรมควบคุมโรค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักอนามัย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น

2

 

กล่าวเปิดการประชุม โดยนายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหานี้ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในสังคม “หากต้องการเห็นอนาคตเยาวชนเป็นอย่างไรให้ใส่สิ่งนั้นเข้าไปในหลักสูตร” หากต้องการให้เกิดการปกป้องเด็กและเยาวชนเป็นอย่างไรให้ใส่สิ่งนั้นเข้าไปในแผนงาน

และครั้งนี้ชี้แจงวัตถุประสงค์โดย ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย รองประธานคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะประเด็นการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า กล่าวตอนหนึ่งว่า ประทับใจการทำงานของ สช. พวกเราได้กำหนดนโยบายขึ้นมาจากพวกเราทุกคนและนำข้อเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ อยู่ระหว่างเสนอเข้ามติคณะรัฐมนตรี การประชุมครั้งนี้เพื่อให้เกิดการนำข้อเสนอลงสู่การปฏิบัติจริงได้

ทั้งนี้มีการเกริ่นนำที่มาที่ไป “ทำไมจึงต้องปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า” โดย ศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ประธานคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะประเด็นการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า

 

3

 

นำเสนอผลการทำงานที่ผ่านมาที่สอดคล้องกับประเด็นการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า โดยผู้แทนหน่วยงาน ได้แก่ สสส. กรมควบคุมโรค พศย. กระทรวงดิจิทัลฯ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและชี้แจงกระบวนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นที่ผ่านมาโดย นายสมเกียรติ พิทักษ์กมลพร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับชาติ หลังจากนั้นมีการแบ่งกลุ่มย่อยตามข้อเสนอประเด็นการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้าจำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. การสื่อสารสร้างความตระหนักรู้ถึงภยันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า 2. เฝ้าระวังการกำกับสื่อและการเป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า 3. การบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพและจริงจัง 4. การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคสังคม และภาควิชาการที่เกี่ยวข้องกับกลไกในระดับชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดบุหรี่ไฟฟ้า 5. คงไว้ซึ่งนโยบายห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าและการป้องกันการแทรกแซงนโยบายด้านยาสูบ และมีผู้แทนนำเสนอในแต่ละกลุ่ม รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นช่วงท้ายเพื่อเติมเต็มข้อเสนอร่วมกัน

จังหวะการทำงานระยะถัดไป คือ 1. จัดประชุมปรึกษาหารือการจัดทำมาตรการ FCTC 5.3 เพื่อป้องกันการแทรกแซงนโยบายด้านยาสูบ 2. จัดประชุมหารือวิธีการทำงานแต่ละข้อเสนอที่สำคัญ โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาออกแบบร่วมกัน

 

45

สุดท้ายนี้เสียงของทุกท่านมีความหมาย “ร่วมเป็น 1 เสียง” ใน 1 ล้านรายชื่อถึงสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลคงกฎหมายห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า

ลงชื่อสนับสนุนที่นี่: https://forms.gle/EBF3tK1d7Xr3iTBm8

ข่าว : ฐิติมา

รูปภาพ