ข้อเสนอเชิงนโยบายว่าด้วยอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินและทองคำ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

1

 

วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗ มีการจัดเวทีผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายว่าด้วยอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินและทองคำ ขึ้นในพื้นที่ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นอาชีพที่สืบทอดต่อกันมาของคนสุโขทัย ในการประกอบเครื่องประดับเงิน และทอง ซึ่งขั้นตอนในการทำเครื่องประดับจะมีการหลอมโลหะ การเชื่อมและการประกอบเครื่องประดับ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนั้นมีส่วนประกอบของ “แร่ใยหิน”

จากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากอุตสาหกรรม ดำเนินการภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์” สนับสนุนทุนการวิจัยโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และดำเนินการโดย เครือข่ายวิชาการภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมี ผศ.ดร.เสน่ห์ แสงเงิน และทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกันศึกษาผลกระทบจากการประกอบอาชีพดังกล่าว

จากการศึกษาในกลุ่มที่ประกอบอาชีพการทำทอง พบข้อมูลที่สำคัญ ๓ ด้าน คือ

. ด้านร่างกาย พบคนทำงานที่สูบบุหรี่ ๑๘% ได้รับการคัดกรองโรคจากฝุ่นใยหินและฝุ่นซิลิกา ๑๐% ไม่ได้รับการคัดกรองโรคจากฝุ่นใยหินและฝุ่นซิลิกา ๘๐%

. ด้านจิตใจ พบว่ามีความเครียดในระดับสูง ๒๘% และความเครียดในระดับรุนแรง ๔%

. ด้านสังคม มีผลกระทบด้านบวกต่ออุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินทองในทุกด้าน

นอกจากนี้ จากการคัดกรองความเสี่ยงพบว่ามีการแสดงอาการของโรคฝุ่นใยหิน และฝุ่นซิลิกา ๑๕ ราย การสอบสวนโรคจากแร่ใยหินของพนักงาน ๕ รายนั้น ในอดีตมีการรับทองกลับไปทำที่บ้าน และจากการศึกษาสิ่งแวดล้อมพบการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กในสถานประกอบการ 

ในเวทียังมีการเสวนาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะว่าด้วย อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินและทองคำในพื้นที่ โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ . นายชัยยา บุญเกิด รองนายกเทศมนตรีเมืองศรีสัชนาลัย ๒. ผศ.ดร.วีรศักดิ์ พุทธาศรี ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  . คุณปราโมทย์ เขาเหิญ ผู้ประกอบการร้านทองสมสมัย ๔. คุณปพิญชญา มาช่วย ผู้ประกอบการร้านต่อเงินต่อทอง ๕. นายวินัย ทองชุบ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๒ พิษณุโลก ๖. ผศ.ดร.ทศพล บุตรมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.นเรศวร และ ๗. อ.วิสาข์ สุพรรณไพบูรณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากการเสวนาได้นำเสนอบทบาทการทำงานของหน่วยงานงานรัฐที่มีการสำรวจผลกระทบด้านสุขภาพ ข้อเสนอในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานสถานที่ การปรับเปลี่ยนของผู้ประกอบการ ที่ตระหนักถึงสุขภาพของคนงาน ได้เปลี่ยนอุปกรณ์ ปรับปรุงสถานที่ทำงาน และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันสุขภาพคนงาน

ท้ายสุดทางเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย ได้รับดำเนินงานต่อ เพื่อจัดทำธรรมนูญท้องถิ่นของอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินและทอง เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้กำหนดกรอบแนวทาง การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะของประชาชนชาวศรีสัชนาลัยต่อไปได้

จากการศึกษาในงานนี้ ได้นำผลงานบางส่วนในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสาธารณสุขในลุ่มน้ำโขง (The 14th International Conference on Public Health among Greater Mekong Sub-regional Countries 2024) หัวข้อเรื่อง “การลดผลกระทบด้านสุขภาพ กรณีอุตสาหกรรมเครื่องประดับทอง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย” (Reducing Health Impact of Traditional Gold Industry in Si Satchanalai, Thailand) โดย น.ส.สุวิชา ทวีสุข กลุ่มงานพัฒนาและขับเคลื่อนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ผลงานการดำเนินงานชิ้นนี้ในระดับนานาชาติ ซึ่งได้รับความสนใจ แลกเปลี่ยน ซักถามบทเรียนการดำเนินงานจากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนำไปปรับใช้สำหรับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพต่อไป

 

เรื่องโดย : สุวิชา ทวีสุข