สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

‘นิยามศัพท์การดูแลแบบประคับประคอง’ หวังแก้ปัญหาติดขัดระเบียบราชการ-ประชาชนเข้าถึงสิทธิมากขึ้น

   สช. จัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ระดมความเห็นทุกภาคส่วนร่วมร่างนิยามปฏิบัติการ ‘การดูแลแบบประคับประคอง’ เพื่อความชัดเจนในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ชี้เป็นเรื่องทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคม จึงต้องมีกรอบในการดำเนินการของทุกฝ่าย
 

‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ในสังคม

   เวที ‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ชี้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกำลังสร้างวิกฤตต่อความหมายทั้งกับชีวิตและความตาย นักวิชาการย้ำความหมายของความตายเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและสัมพันธ์กับคำถามว่า ‘ชีวิตที่ดีคืออะไร?’
 
   วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัด เสวนา REST IN PEACE 4 : วิกฤตความหมายในความตาย จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่างๆ
 

สช. เปิดเวที “เร่งตาย VS เลือกตาย” หนุนใช้สิทธิมาตรา 12 ตายตามธรรมชาติ

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “เร่งตาย VS เลือกตาย สิทธิในวาระสุดท้าย ใครกำหนด?” ผงะ! ผลโพลเพจ Drama-addict พบ 95% สนับสนุนการุณยฆาต ระบุคนโหวตยังไม่รู้จักวิธีการดูแลรักษาแบบประคับประคอง ด้านที่ปรึกษาด้านสิทธิสุขภาพและอาจารย์แพทย์หนุนใช้สิทธิตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 เลือกตายตามธรรมชาติ
 

เห็นพ้อง ‘สิทธิปฏิเสธการรักษา’ หมอทำได้ตาม ม.12 เร่งสร้างแนวปฏิบัติต่อผู้ป่วยระยะท้าย

   นักกฎหมายยืนยันการทำตามเจตนาของผู้ป่วยระยะท้ายตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพได้รับความคุ้มครอง แต่ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับสังคม ด้านแพทย์เห็นว่าเป็นการยุติความทรมานของผู้ป่วย แนะควรสร้างระบบดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แนวทางปฏิบัติ และเสริมศักยภาพทีมแพทย์
 

สื่อสารความตายแบบ ‘เบาใจ’ สื่อสารความตายด้วยหัวใจ

   สมัยเด็กๆ ทุกคนจะมีไดอารี่เล่มเล็กๆ บอกเล่าชีวิตประจำวันและความฝันว่าอยากจะทำโน่น นี่ นั่น ... เมื่อเติบโตขึ้น หลายคนมีหน้าที่การงานรัดตัว เริ่มหลงลืมไดอารี่เล่มเดิม มานึกขึ้นได้อีกครั้งวันวัยก็ร่วงโรยห่างไกลจากครั้งที่เริ่มเขียนไดอารี่เล่มแรกไปไกลโข
 
   ถ้าใครอยากเขียนบันทึกชีวิตตัวเองอีกครั้ง ขอแนะนำ “สมุดเบาใจ” ที่คงไม่ใช่ไดอารี่สวยหรูเพ้อฝัน แต่เป็นสมุดโน้ตที่บอกเล่า “ความต้องการของฉัน” เกี่ยวกับสุขภาวะในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตและ “การตายดี”
 

Subscribe to สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ