โควิด19 | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

ฐานความสำเร็จจาก ‘ล่างขึ้นบน’ ‘สุพรรณบุรี’ ชู “ธรรมนูญสุขภาพ” สู้โควิด-19

   “หลักใหญ่ใจความคือ การที่คนในชุมชนมาร่วมคิดร่วมทำบางอย่างด้วยกันบนโจทย์ที่ว่า อยากมีวิถีชีวิตอย่างไรในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ “พอเขาทำให้เกิดธรรมนูญหรือข้อตกลงของพวกเขาร่วมกันได้ ความยั่งยืนก็จะเกิดขึ้น”นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดประเด็นพูดคุย
 

สช. เร่งขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ หวังพัฒนาระบบอาหารนักเรียนและเด็กเล็กรับวิกฤตโควิด-19

   สช.ประสาน 5 กระทรวงหลัก ศึกษาธิการ-มหาดไทย-เกษตร-สาธารณสุข-อุดมศึกษาฯ และเครือข่ายภาคีในพื้นที่ ปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนข้อเสนอเพิ่มคุณภาพการจัดการอาหารกลางวันของนักเรียนและเด็กเล็กในโรงเรียนทั่วประเทศ มุ่งเสริมสร้างพัฒนาการเด็กทั้งด้านกาย จิต สังคม ปัญญา พร้อมสร้างข่ายความร่วมมือ โรงเรียน-ชุมชน-ท้องถิ่น รับวิกฤตโควิด-19
 

ถอดบทเรียน ‘สมัชชาอนามัยโลก’ ปรับตัวรับโควิด-19

   รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ถอดบทเรียน “สมัชชาอนามัยโลก” สู่การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 มีการปรับตัวรับโควิด-19 ครั้งใหญ่ ด้วยการเปิดวงถกออนไลน์เป็นครั้งแรก ร่นระยะเวลาจาก 2 สัปดาห์เหลือเพียง 2 วัน แต่ยังมีข้อจำกัด-อภิปรายไม่ครบถ้วน คาดจะเปิดประชุมอีกครั้งปลายปีนี้
 

‘โคกจาน’ พลังท้องถิ่นร่วมฟื้นฟู-สู้ภัยโควิด-19

   การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่าท้องถิ่นทั่วประเทศเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ เพราะเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน นางสาวอุไร โปร่งจิต ปลัดเทศบาลตำบลโคกจาน จังหวัดศรีสะเกษ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการสานพลังสร้างสุขภาวะ ออกอากาศทาง FM96.5 เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้เห็นภาพการทำงานในพื้นที่อย่างชัดเจนขึ้นว่า
 

ประชาสังคมสงขลาเชื่อมเทคโนโลยี-ธรรมนูญสุขภาพ สู้ภัยโควิด-19

   ภาคประชาสังคมสงขลาจับมือหน่วยงานรัฐสู้ภัยโควิด-19 ผ่านกระบวนการหลากหลาย ทั้งธรรมนูญสุขภาพ การแลกเปลี่ยนแนวคิด การสร้างฐานข้อมูลเพื่อดูแลประชาชนเปราะบางในพื้นที่ เชื่อจะเป็นโอกาสสำคัญในการปรับตัวเพื่อถักทอเครือข่ายและพัฒนาพื้นที่
 
   “องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานในพื้นที่มานาน ทำให้มีต้นทุน มีฐานอยู่แล้ว นำมาใช้รับมือสถานการณ์โควิดได้ง่ายกว่าหน่วยงานจากภายนอก เพราะคนในพื้นที่เกาะเกี่ยวกันได้ง่ายกว่า”
 

โจทย์ใหญ่! จากการป้องกันสู่การฟื้นฟู ‘พื้นที่’ สู้ภัยโควิด-19

   โจทย์ใหญ่หลังวิกฤตโควิด-19 ระยะแรกเบาบางลง ก็คือ การฟื้นฟูคุณภาพชีวิต-อาชีพ –รายได้ของประชาชน ที่ผ่านมาเครือข่ายในท้องถิ่นต่างๆ นอกจากจะทำงานด้านการป้องกันได้อย่างดีเยี่ยม ยังมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูชุมชนด้วย ตัวอย่างดีที่สุรินทร์ เน้นเกษตรอินทรีย์-จัดการอาหารชุมชน ที่ศรีสะเกษทุกส่วนร่วมร่างธรรมนูญตำบลได้อย่างรวดเร็ว
 

Subscribe to โควิด19