เพศภาวะ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

อนุฯ วิชาการเห็นพ้องเปลี่ยนชื่อระเบียบวาระ ‘วิถีเพศภาวะ’

   บทบาทของสมาชิกในครอบครัว มักถูกตีกรอบโดยค่านิยม ความเชื่อ และจารีต ในฐานะที่เป็น ‘สามี-เพศชาย’ ต้องเป็นผู้นำครอบครัวที่แข็งแกร่ง ทำงานหนัก รับผิดชอบและเสียสละ ขณะที่ ‘ภรรยา-เพศหญิง’ ถูกคาดหวังให้เป็นแม่บ้านแม่เรือน หน้าที่หลักคือการเลี้ยงลูกให้ดี
 

จ่อปรับชื่อระเบียบวาระ ‘วิถีเพศภาวะ’ ใหม่

   แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะให้ความสำคัญในเรื่องความเสมอภาคชาย-หญิง แต่การดำเนินงานและการจัดทำนโยบายต่างๆ กลับยัง “ขาดการบูรณาการมุมมองด้านเพศภาวะ” ซึ่งนับเป็นรากเหง้าปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพที่อาจนำไปสู่ปัญหาในการจัดระบบบริการสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพเพื่อนำไปสู่สุขภาวะที่ดี
 
   แน่นอนว่าทางออกเชิงนโยบาย หมุดหมายหลักคือการผลักดันให้เกิดการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสร้างเสริมสุขภาพสู่สังคมสุขภาวะผ่านมุมมองมิติเพศภาวะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการปรับเปลี่ยนใน 3 ระบบหลัก คือ โครงสร้างสังคม ระบบการศึกษา และระบบบริการสุขภาพ
 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปีนี้ ‘เพศภาวะ-สุขภาพจิตครอบครัว’

   คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯ ประกาศระเบียบวาระที่ 2 ‘วิถีเพศภาวะ: เสริมพลังสุขภาพจิตครอบครัว’ เตรียมผลักดันเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ช่วงปลายปี 2562 เหตุพบสถิติผู้ป่วยจิตเวชและอัตราฆ่าตัวตายขยายตัวรวดเร็ว แม้ในต่างจังหวัด บุคลาการด้านจิตเวชไม่เพียงพอ การไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศภาวะทำครอบครัวไทยตึงเครียด หลังประกาศระเบียบวาระแรก ‘มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’ ไปก่อนหน้านี้
 

Subscribe to เพศภาวะ