เกาะติด 4PW | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

คลอด ‘ตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ฯ’ ชุดแรกของประเทศไทย

   “สช. – IHPP - ภาคีเครือข่าย” สานพลังสร้างตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ฯ ชุดแรกของประเทศไทย เดินหน้าเก็บข้อมูลที่พร้อมทันที
 
   แม้ว่าลึกๆ แล้ว ทุกคนอาจจะออกแบบหรือวาดภาพ “ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์” ไว้ในใจ แต่ทว่านับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยกลับไม่เคยมี “ตัวชี้วัด” ในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ นั่นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตอบให้ได้ว่า ระบบสุขภาพของไทยเดินมาจากจุดไหน และกำลังจะไปที่ไหน หรือระบบสุขภาพของไทยเดินทางมาถึงตรงไหนแล้ว
 

จับสัญญาณรื้อฟื้น FTA ‘ไทย-อียู’

   เปิดวงถก “คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ” นัดแรก เน้นหนักนโยบาย “เมดิคัลฮับ” พร้อมจับตาการรื้อฟื้น FTA ไทย-อียู
 
   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเครื่องต่อรองในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ข้อตกเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ไทย-สหภาพยุโรปในอดีต ที่แฝงมาด้วยการผูกขาดสิทธิบัตรยา ซึ่งจะกระทบต่อราคายา และการเข้าถึงยาของประชาชนในภาพกว้าง
 

‘สร้างสุขปลายทาง’ ครั้งที่ 3 ปักธงสร้างความเข้าใจการดูแลแบบประคับประคอง

   แม้ว่าทุกวันนี้การแพทย์จะรุดหน้าไปมาก แต่ถึงอย่างไรแล้วเราก็คงหนีไม่พ้นวาระสุดท้ายของชีวิต การเผชิญหน้ากับความตายอย่างกล้าหาญ เข้าใจ และมีศักดิ์ศรี จึงเป็นโจทย์แหลมคมที่เราควรครุ่นคิดกันตั้งแต่วันนี้
 
   คำถามคือ ในช่วงสุดท้ายก่อนจะออกเดินทางไกล เราปรารถนาที่จะเห็นตัวเองอยู่ในสภาพใด? ระหว่างการนอนอยู่ท่ามกลางสายระโยงระยางในโรงพยาบาล หรือพักผ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่นที่เราคุ้นชิน
 

ระดมสมอง กรุยทางสู่ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์

   สช. เปิดวงรับฟังความคิดเห็น “ร่าง ชุดตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559” กรุยทางสู่ระบบสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศ
 
   ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ หรือ “Health in All Policies” คือเส้นทางของระบบสุขภาพทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นถนนเส้นเดียวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และเป็นหนึ่งเดียวกับงานของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ภายใต้การนำของ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) คนปัจจุบัน
 

ยกเครื่อง ‘บัญชีรายการ’ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

   เมื่อ 12 ปีก่อน หรือในปี 2550 ประเทศไทยมีการออก พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นต้นทางของประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ “ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยอาศัยกระบวนการทางการแพทย์” ที่กำหนดสิทธิประโยชน์รายการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 26 รายการ
 
   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมา กองทุนสุขภาพทั้ง 3 กองทุน จะให้สิทธิประโยชน์ที่จำเป็นแก่คนพิการแล้ว แต่ในทางปฏิบัติกลับยังพบความเหลื่อมล้ำ และสิทธิประโยชน์บางรายการก็มีอุปสรรคขวางกั้นจนไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

ตอนที่ 5 กระเบื้องมือสอง

   กระเบื้องมือสองจำนวนมากถูกเก็บจากไซต์งานก่อสร้างเพื่อส่งไปขายต่อในชุมชน ด้วยราคาที่ต่ำอย่างเหลือเชื่อจนไม่สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไปได้ ทำให้กระเบื้องเหล่านั้นได้รับความนิยมจากชาวบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
 
   พฤติกรรมการใช้กระเบื้องมือสองจึงกลายมาเป็นเรื่องปกติของคนในชุมชน โดยกระเบื้องเหล่านั้นถูกดัดแปลงไปใช้ประโยชน์หลากหลายสุดแต่ใครจะจินตนาการ บางคนเพียงแค่นำไปปรับปรุงห้องหับ แต่บางคนถึงกับนำไปใช้แทนเขียงหั่นผัก-ผลไม้ หรือในหมู่กระเบื้องที่แตกหักสภาพไม่สมประกอบ ชาวบ้านก็ยังนำไปถมที่ถมทาง
 

Subscribe to เกาะติด 4PW