สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

กรรมการสุขภาพแห่งชาติห่วงบุคลากรสุขภาพ ต้อง ‘คิดก่อนคลิก’ ไม่ละเมิดสิทธิสุขภาพ

   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบแนวทางใช้สื่อออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ ตามมาตรา ๗ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ หนุนสภาวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ต่อ หลังพบโพสต์-แชร์ ละเมิดสิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมผลักดันนโยบายสาธารณะลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเป็น “วาระแห่งชาติ” เตรียมเสนอ ครม. เร็วๆ นี้
 

ทุกภาคส่วนร่วมวางกฎเหล็ก สกัดใช้โซเชียลมีเดียละเมิดสิทธิด้านสุขภาพ

   สช. เปิดเวทีความร่วมมือวางกรอบการใช้โซเชียลมีเดียของบุคลากรด้านสุขภาพและสาธารณสุข ป้องกันการโพสต์ แชร์ ทวิต ที่ละเมิดสิทธิผู้ป่วย หนุนสภาวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนนำไปใช้ประโยชน์ สร้างค่านิยมที่ถูกต้อง เจ้าของเพจดัง Drama-addict ขานรับ หลังพบพฤติกรรมไม่เหมาะสมในโลกออนไลน์จำนวนมาก
 

ปรับระบบ'แพทย์ฉุกเฉิน' รักษาฟรีทุกสิทธิใน72ชม.

...สพฉ.) กล่าวถึงการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามนโยบายรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (EMCO) ว่า ขณะนี้ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้พัฒนาและออกแบบให้ประชาชนคนไทยที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลใน 3 กองทุน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาลเอกชนโดยไม่เสีย...อ่านรายละเอียดทั้งหมด

การุณยฆาต การขออนุญาตตาย...ด้วยสิทธิของตัวเอง

     การตายเป็นธรรมดาของชีวิต ไม่มีใครหนีพ้นไปได้ ความตายในทางธรรมวัดกันที่จิต ถ้าจิตดวงสุดท้ายที่เรียกว่า จุติจิต ดับลงและขาดการเกิดสืบต่อเมื่อใด จิตก็จะออกจากร่างและเมื่อนั้นร่างก็จะกลายเป็นศพทันที พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี พระนักวิชาการ นักคิดนักเขียนที่ได้รับการยกย่องในวงกว้างว่าเป็นปราชญ์ทางธรรม เคยกล่าวเกี่ยวกับ ความตาย เอาไว้เช่นนั้น ซึ่งตรงตามหลักธรรมคำสอนในเรื่อง ไตรลักษณ์ ที่ว่าด้วยกฎแห่...อ่านรายละเอียดทั้งหมด

ทอล์คออฟเดอะทาวน์: 'หน้าที่ผู้ป่วย'ไม่จำเป็นต้องมีจริงหรือ

     ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา น่าเสียดาย ที่บางกลุ่มอาจไม่เข้าใจ โดยยกกรณีตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ว่าข้อพึงปฏิบัติไปรอนสิทธิผู้ป่วยในการเปิดเผยความลับนั้น ความจริงมีกฎหมายหลายฉบับคอยอุดช่องโหว่ในประเด็นนี้อยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความลับอันได้จากการปฏิบัติหน้าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งในการฟ้องละเมิดหากใครไปเปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันควร ที่สำคัญคือ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติถึงกับกำหนดบท...อ่านรายละเอียดบทความทั้งหมด

Subscribe to สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ