คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

“สมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่มีพลัง”

   การจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (NHA) ในแต่ละปี อยู่ในความรับผิดชอบของ “คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ”(คจ.สช.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากมติของที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดย สช.เป็นเพียงเลขานุการของคณะกรรมการเท่านั้น จึงเป็นกลไกกระบวนการส่วนกลางของภาคีเครือข่าย ที่ช่วยกันกำหนดรายละเอียดและลงมือทำ
 
   เท่าที่ได้สังเกต จากการเข้ามาทำหน้าที่ 3 ปีที่ผ่านมา ผมพบว่าเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในแต่ละปี ยังคงสามารถรักษาและสร้างสรรค์มาตรฐานความเป็น “ต้นแบบเวทีสมัชชา” ของประเทศไทยเอาไว้ได้เป็นอย่างดี
 

“เหลียวหลังแลหน้า สมัชชาสุขภาพ”

   แม้ผมจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลักดัน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ต้น จนกระทั่งเมื่อมีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)และมีเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเกิดขึ้นแล้วถึง 7 ครั้ง ก็แทบไม่เคยได้เข้ามาร่วมกระบวนการพิจารณามติสมัชชากับเขาเลยสักหน
 
   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8/2558 จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้ผมมีโอกาสเข้าร่วมงานประชุมตลอดกระบวนการ เนื่องจากถึงเวลาต้องเข้ามาเตรียมตัวรับไม้ต่อมือ จากท่านเลขาธิการคนก่อน
 

“ทศวรรษสอง สมัชชาสุขภาพ”

   ผมสังเกตพบว่า คนทั่วไปมักจะรู้จักและจดจำภาพลักษณ์ของ “สมัชชาสุขภาพ” ว่าหมายถึงอะไร ได้ง่ายกว่าการแยกแยะบทบาทความแตกต่างระหว่าง สช.กับกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรอิสระตระกูล ส.ทั้งหลาย
 
   ด้านหนึ่งคงเป็นเพราะ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นเสมือนงานประชุมใหญ่ประจำปีของภาคีเครือข่ายที่ขยันขันแข็ง ทำงานเกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบสุขภาพและการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะจากทั่วประเทศมารวมตัวกัน เพื่อพิจารณามติต่อนโยบายสาธารณะของสังคม อันจะได้นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
 

“ประชาธิปไตย กับ การมีส่วนร่วม”

   ภายหลังมีประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 ลงราชกิจจานุเบกษา
 
   การคาดการณ์ว่าจะมีการเลือกตั้งได้อย่างเร็วที่สุดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ทำให้กระแสการเลือกตั้งทั่วไปที่ขาดหายไปเกือบ 5 ปี เริ่มกลับมาสู่ความคึกคักอีกครั้ง
 
   การหย่อนบัตรเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตยหรือบริหารจัดการอำนาจรัฐในระดับต่างๆ นับเป็นรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งนิยมใช้กันทั่วโลก
 

“แพร่งทางแยก”

   เมื่อจะเดินทางไกล ไม่ว่าจะเลือกใช้เส้นทาง วิธีการหรือยานพาหนะแบบใด การตั้งทิศให้ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก
 
   ยิ่งถ้าเป็นการเดินทางซึ่งไกลมากและใช้ระยะเวลายาวนาน ก็มักต้องมีการแวะเพื่อหยุดพักระหว่างทาง หรือ เปลี่ยนเส้นทาง เปลี่ยนยานพาหนะตามความเหมาะสม เพื่อนร่วมทางย่อมเปลี่ยนหน้าไปบ้าง
 
   ในตอนที่ยังอยู่ห่างไกลจากจุดหมายปลายทางมากๆ การเลือกแนวทาง วิธีการ หรือเพื่อนร่วมทางอาจไม่เป็นประเด็นให้ต้องขบคิดมากนัก เพราะยังไม่มีอะไรที่แตกต่าง
 

“ปฏิบัติการ3วัน หยุดกระแสข่าว กขป.8”

   ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จู่ๆก็ปรากฏมีข่าวสื่อมวลชนในทำนอง...”ฉาวอีก!จนท.อัตราจ้าง กขป.เขต8 ร้องเงินเดือน3หมื่น ถูกหัวหน้ารีดคืน1.5หมื่น/เดือน แฉเป็นเหมือนกันทั่วประเทศ”
 
   เหตุการณ์นี้ มีจุดเริ่มจากผู้หญิงเล็กๆคนหนึ่งที่อุดรธานี ไปร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและมีเรื่องไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นในงานของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)
 
   การพาดหัวข่าวที่ผิดข้อเท็จจริง มีการส่งผ่านไปยังสื่อมวลชนน้อยใหญ่และสื่อโซเชียลที่มีสมาชิกเป็นแสนเป็นล้านคน นอกจากนั้นยังมีการโพสต์ความเห็นวนเวียนต่อๆกันไป โดยไม่มีการตรวจสอบและไม่ต้อง

Subscribe to คุยกับเลขา