เกาะติด 4PW | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 มติฯ ‘อีสปอร์ต-พยาธิใบไม้ตับ’

   หลังการทำความเข้าใจในเนื้อหา-สาระสำคัญของ 4 ระเบียบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ในช่วงเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ช่วงบ่ายของ เวทีเตรียมความพร้อมกลุ่มเครือข่ายสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12 พ.ศ.2562 หรือ Pre NHA12 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การเปิด 2 ห้องย่อยให้ผู้เข้าร่วมกว่า 800 ชีวิต ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จของการพัฒนาและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จากผู้แทนหน่วยงานที่ขับเคลื่อนนโยบายตัวจริง-เสียงจริง 2 มติ อันได้แก่ 1.มติความรับผิดชอบร่วมทางสังคมเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อสุขภาวะเด็

ตอนที่ 3 ความละเอียดอ่อนทาง ‘เพศ’ คือต้นทางสร้าง ‘สุขภาวะครอบครัว’

   อีกเพียง 2 เดือน งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ก็จะเปิดฉากขึ้น โดยปีนี้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ได้ประกาศระเบีบบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาจัดทำเป็นนโยบายสาธารณะใน 4 เรื่องใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ “วิถีเพศภาวะ : เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว” ที่นับเป็นรากฐานของการสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และมีความสำคัญเชิงประเด็นในระดับนานาชาติ
 

ตอนที่ 2 ‘วิถีเพศภาวะ: เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว’

   แม้ว่าประเทศไทยจะรับ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ที่ยืนยันหลักการว่าการเลือกปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และถึงแม้ว่าที่ผ่านมารัฐไทยจะส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศ และพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก “เพศภาวะ”
 
   ย้อนกลับไปราว 17-18 ปีก่อน คือในปี 2544 ทุกกระทรวงในประเทศไทย (ยกเว้นกระทรวงกลาโหม) ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point : GFP) ขึ้น ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจให้ข้าราชการ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในประเด็นเพศภาวะ
 

ตอนที่ 1 ทุกเพศมีความแตกต่าง : ถ้าเข้าใจกันก็มีสุข

   สำหรับบรรดาเหล่าพ่อบ้าน-คุณสามีทั้งหลาย ลองได้มีโอกาสได้รวมรุ่นตั้งกลุ่มสังสรรค์กับพวกพ้องแบบปล่อยแก่ เดาได้เลยว่าบทสนทนาที่นำมาซึ่งความคึกคะนองหนีไม่พ้นเรื่องการ “นินทาภรรยา”
 
   เรื่องที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุย หรือล้อเลียนกันอยู่ในวงบ่อยครั้ง คือเรื่องความเจ้าอารมณ์ของผู้หญิง ความแปรปรวน หงุดหงิดง่าย เราคุ้นชินและออกไปทางขำขันกับประโยคที่ว่า “ไม่รู้เมียหรือแม่กันแน่” โดยที่ไม่ได้คิดอะไร
 

ตอนที่ 2 ลัดเลาะเวทีรับฟังความคิดเห็น ‘รวมพลังชุมชนต้านมะเร็ง’

   มุกตลกที่ได้ยินบ่อยๆ “มะเร็ง (มา-เล็ง) ไม่น่ากลัวเท่ามายิง” ชักจะไม่ค่อยขำแล้ว เพราะทุกวันนี้อัตราการเสียชีวิตของ ‘มะเร็ง’ น่าจะสูงกว่ามายิงแน่นอน เพราะ ‘มะเร็ง’ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยมาตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา โดยตลอด 20 ปี ไม่เคยมีโรคใดล้มแชมป์ได้
 

ตอนที่ 1 ‘รวมพลังชุมชนต้านมะเร็ง’ ล้มแชมป์สาเหตุการตาย 20 ปีซ้อน

   รู้สึกไหมว่าทุกวันนี้คนรอบข้างหรือคนที่รู้จักป่วยเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น ?
 
   หลายต่อหลายครั้งที่เราได้ยินข่าวคราวว่ามีเพื่อนพ้อง-ญาติพี่น้องป่วยเป็นมะเร็ง เปิดรับสื่อหรือมองไปทางไหนก็เจอแต่มะเร็ง และถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่มีใครอยากเป็น แต่มะเร็งก็ได้ขึ้นแท่นโรคยอดฮิตโรคหนึ่งของคนไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 
   มะเร็งครองแชมป์ 20 ปีซ้อน ในฐานะสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย เพชฌฆาตรายนี้ปลิดชีพผู้ป่วยชาวไทยเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 ศพ
 

Subscribe to เกาะติด 4PW