สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

สช. จับมือสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญ กสธ. สร้างความเข้าใจ สิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต ตื่นตัวสู่การตายดี

    วันนี้ (29 มี.ค.55) สมาคมข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการ “ฝึกอบรมวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพดี” แก่กลุ่มข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 28-29 มี.ค.2555 ณ โรงแรมสตาร์ โฮเต็ล จ.ระยอง
 

เครือข่ายวิชาชีพพยาบาลร่วมลงนามหนุนสิทธิไม่ยื้อตาย

     14 กันยายน 2554 ศ.เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล (ที่ 2จากซ้าย) ผศ.อังคณา สริยาภรณ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (ที่ 4 จากซ้าย) รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ประธาน(ก่อตั้ง)เครือข่ายคณบดีและผู้บริหารสถาบันการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์แห่งประเทศไทย (ที่5 จากซ้าย) น.ส.พรรณทิพา แก้วมาตย์ ประธาน ชมรมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ที่ 1 จากซ้าย)และ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (กลาง) ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเครือข่ายวิชาชีพพยาบาล กับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติในการส่งเสริม

สช.เปิดหลักฐาน ยันทั้งกฤษฎีกาและสช.ฟังทุกฝ่ายมาโดยตลอด แนะแพทยสภาให้ทำหน้าที่ของตัวเองที่ควรทำ หยุดป่วนล้มกฎกระทรวงมาตรา 12

    หมออำพลยันกระบวนการจัดทำกฎกระทรวงตามมาตรา 12 ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการรับฟังข้อเสนอแนะจากแพทยสภา ข้องใจแพทยสภาให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ ที่กฤษฎีกาตรวจแก้ไขแล้วก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่กลับสร้างความสับสนให้กับสังคมด้วยการนำเอาข้อกฏหมายมาตีความตามจินตนาการ และไม่ทำตามสิ่งที่เสนอไว้ในกรณีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัย “วาระสุดท้ายของชีวิต” พร้อมระบุด้วยว่าหากมีการฟ้องร้องล้มกฎกระทรวงจริง สช.ยินดีชี้แจงต่อศาล แต่อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เน้นผลประโยชน์ของประชาชนและสังคมเป็นสำคัญ
 

เปิดตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนาไม่รับการรักษาเพื่อยื้อชีวิต

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เปิดตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับการรักษาเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต พร้อมเดินสายทำความเข้าใจสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน ระบุมีระบบรองรับการดำเนินการที่ได้มาตรฐาน และการขอใช้สิทธิดังกล่าวไม่บังคับทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางวิชาชีพ นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อแพทย์และคนไข้
 

Subscribe to สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ