ปฏิรูปประเทศไทย | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

ให้เลี้ยงเป็ดและสุกร!

   เป็นความเข้าใจกันมานานแล้วว่า นโยบายสาธารณะหมายถึงทิศทาง แนวทาง ข้อกำหนด และการกระทำของรัฐบาล ราชการ หน่วยงาน และผู้มีอำนาจ ว่าจะทำอะไรให้กับประชาชนและสังคม มีทั้งที่เขียนไว้ในแผน ในคำแถลงต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ
 
   เมื่อปี ๒๕๐๔ ผู้ใหญ่ลีจึงต้องเรียกประชุมชาวบ้าน ประกาศว่า “ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร”
 
   นั่นเป็นนโยบายสาธารณะแนวดิ่ง เป็นนโยบายสาธารณะรูปแบบหนึ่งที่มองประชาชนเป็นเพียงผู้รับนโยบายและรับผลจากนโยบาย เป็นแนวคิดเก่าของการอภิบาลโดยรัฐ (governace by government)
 

ธรรมนูญก้าวหน้า

   ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ....ไม่ผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องรอให้มีคณะกรรมาธิการใหม่ ๒๑ คน มายกร่างก่อนนำไปทำประชามติ ซึ่งดูเหมือนว่าเส้นทางยังอีกยาวไกลนัก
 
   และไม่ว่าจะสำเร็จ ประกาศใช้เมื่อใด สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ ก็เป็นเรื่องไกลตัวประชาชนและเข้าใจยาก
 
   แต่ทุกวันนี้มี “ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่” ที่เป็นผลพวกจากการทำงานตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ แพร่ขยายไปทั่วประเทศ
 

ฟังกันให้รอบด้าน

   รัฐบาลภายใต้การควบคุมอำนาจ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บริหารงานมาได้ร่วมปี ได้เร่งเดินหน้าพัฒนาประเทศโดยเน้นการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจเต็มสูบ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเดินหน้าโครงการขนาดใหญ่ การเร่งพัฒนาแหล่งผลิตพลังงาน โครงการคมนาคมเชื่อมต่อทั้งระบบถนน ระบบราง และท่าเรือน้ำลึก ฯลฯ
 
   ทั้งหมดนี้เป็นเร่งเดินเครื่องประเทศไทยไปสู่การแข่งขันสากล และการเข้าเป็นเขตเศรษฐกิจเสรีอาเซียน
 

ร่วมด้วยช่วยกัน ผลักดันปฏิรูป

ต้องขอขอบคุณ คณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่มีมติเมื่อวันที่ ๘ ส.ค. ๒๕๕๗ เสนอชื่อ ดร.ศิรินา ปวโรราฬวิทยา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ และผม เข้ารับการคัดเลือกเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อทำ หน้าที่ดูแลการจัดทำรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่ และขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทยด้านต่างๆ และต้องขอ ขอบคุณคณะกรรมการสรรหาและ คัดเลือก ที่คัดเลือกให้เราทั้ง ๒ คน เข้าไปเป็น สปช. ด้านสังคม เพื่อ ทำงานให้ประเทศชาติครับ 

ปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ค. ผมเล่าผ่าน facebook ถึง ความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช. ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ในวันนั้น ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มิ.ย. ที่ผ่านมา และเห็นชอบกับมติที่ ๖.๘ “ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การ ปฏิรูปประเทศไทย” ที่ผ่านฉันทมติจากองค์กร ภาคี เครือข่ายทุกภาคส่วน จำนวน ๒๓๔ กลุ่มเครือข่าย เพื่อ เตรียมเสนอต่อ ครม.

ปฏิรูปไม่ใช่ปฏิลูบ

 ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ (Health Systems Reform) ต่อเนื่องมาเป็นสิบปีแล้ว หัวใจสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพ คือ การปรับกระบวนทัศน์เรื่อง สุขภาพใหม่ จากสุขภาพที่เป็นเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย มดหมอหยูกยา การแพทย์การ สาธารณสุข ไปสู่สุขภาพที่มีความหมายกว้างว่าเป็นเรื่อง “สุขภาวะ” ทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ สุขภาพจึงเป็นเรื่องของทุกคน ทุกภาคส่วน เป็นเจ้าของ ร่วมกันมีสิทธิที่จะมีสุขภาพดี และมีหน้าที่ร่วมกันทำให้เกิดสุขภาพ/สุขภาวะที่ดี (All for Health) 
 

Subscribe to ปฏิรูปประเทศไทย