เชื้อไวรัส | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Skip to main content

‘นครสวรรค์’ ดัน ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ สู้ภัยโควิด19

   ชาวบ้านนครสวรรค์ 10 กว่าตำบล ร่วมพูดคุยจัดทำธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ วางกติกาการอยู่ร่วมกัน การป้องกัน และการช่วยเหลือกันในช่วงการระบาดของโควิด19 ขณะที่ สมัชชาสุขภาพจังหวัดเตรียมวางแผนรับมือด้านเศรษฐกิจชุมชน หลังสถานการณ์คลี่คลาย
 
   ขณะที่หน่วยงานส่วนกลางกำลังทำงานอย่างเต็มที่เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ประชาชนก็ให้ความร่วมมือด้วยการ ‘อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ’ ในเวลาเดียวกันชุมชนต่างๆ ก็เข้ามาหนุนเสริมการทำงานภาครัฐอย่างแข็งขัน ดังตัวอย่างของพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
 

ชาวพะเยาสานพลัง จัดกติกาชุมชน ป้องกันภัยโควิด19

   เครือข่ายสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา สานพลังชุมชนในพื้นที่รับมือโควิด19 วางกติกาการอยู่ร่วมกัน สร้างกิจกรรมให้คนที่ต้องกักตัวตระหนักในคุณค่าตนเอง แลกเปลี่ยนข้อมูล เฝ้าระวัง ใช้กองทุนสวัสดิการหรือธนาคารหมู่บ้านช่วยเหลือสมาชิก เน้นให้กำลังใจ แบ่งปันเกื้อกูล
 

สช.ผนึกกำลังองค์ภาคี สู้ศึก! ในปฏิบัติการ “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ สู้ภัยโควิด19”

   3 เมษายน 2563 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่าย ‘ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19’ ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กเพจ สช.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยหน่วยงานด้านนโยบายต่างๆ ได้อธิบายภาพความร่วมมือระหว่างกันและบทบาทในการสนับสนุนงานในพื้นที่
 

“ธรรมนูญสุขภาพตำบล” มาตรการสังคม ช่วยชุมชนสู้ภัยโควิด19

   นพ.นิรันดร์ ระบุเครื่องมือทางกฎหมายอย่างเดียวไม่เพียงพอสู้ภัยโควิด19 ต้องมีมาตรการทางสังคมเข้าหนุนเสริม ชี้ ‘ธรรมนูญสุขภาพตำบล’ เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้การทำงานระดับพื้นที่เกิดการ บูรณาการ เชื่อว่าไทยจะผ่านวิกฤตนี้ไปได้
 
   ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 สะสมในประเทศล่าสุด วันที่ 2 เมษายน 2563 อยู่ที่ 1,875 คน หลายจังหวัดมีการประกาศเคอร์ฟิวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ขณะเดียวกันรัฐก็ใช้มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นด้วยการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นอำนาจทางกฎหมาย
 

‘สู้ภัยโควิด19’ เปลี่ยนวิกฤตเป็น ‘ความยั่งยืนของชุมชน’

   ตัวเลขผู้ป่วยสะสมจากไวรัสโควิด19 ที่ทวีสูงขึ้นเรื่อยๆ...ยังไม่มีใครตอบได้ว่าการระบาดครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด
 
   แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการเข้มข้นขึ้นทุกขณะ แต่ผู้ป่วยก็ยังคงเพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่ในหลายประเทศทั่วโลก มาตรการใดๆ ก็ไม่อาจเกิดผลได้ หากคนในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตระหนัก และไม่ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง เช่นนี้แล้ว ประชาชน ‘ทุกคน’ จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้มาตรการของรัฐสัมฤทธิ์ผล รวมถึงหนุนเสริมส่วนที่ตนเองทำได้เพื่อร่วมกันต่อสู้ภัยโควิด19
 

Subscribe to เชื้อไวรัส